SKU : 9789740217077
ประวัติศาสตร์การแพทย์กับโรคระบาดในสังคมไทย “โรคภัยไข้เจ็บใช่ว่าจะเพิ่งเกิดขึ้นกับมนุษย์เมื่อไม่นานนี้ แต่กลับเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นและอยู่คู่กับมนุษย์มาตั้งแต่ต้น”
หมวดหมู่ : หนังสือ ,  สุขภาพ ,  ประวัติศาสตร์ ,  สังคมและวัฒนธรรม , 
Share
ประวัติศาสตร์การแพทย์กับโรคระบาดในสังคมไทย “โรคภัยไข้เจ็บใช่ว่าจะเพิ่งเกิดขึ้นกับมนุษย์เมื่อไม่นานนี้ แต่กลับเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นและอยู่คู่กับมนุษย์มาตั้งแต่ต้น” เรื่องเล่าของโรค และความพยายามเอาชนะโรคต่างๆ ทั้งในระดับชาติและบุคคลในบริบทแบบไทยๆ
โรคระบาดภัยร้ายแรงที่คร่าชีวิตอย่างรวดเร็วและกระทันหัน ในอดีตที่ผ่านมามนุษย์ต้องเผชิญหน้ากับโรคระบาดอยู่เสมอมา
ในประวัติศาสตร์ไทย โรคระบาดคือภัยจากปีศาจร้ายที่เกรี้ยวกราด คำอธิบายทางการแพทย์แผนไทยเชื่อกันว่าโรคห่า (โรคที่คนตายเป็นจำนวนมาก) เกิดจากปีศาจทำของเข้า จนกระทั่ง การเปิดรับการแพทย์แผนตะวันตก จากโรคห่าของปีศาจ ได้กลายเป็นโรคที่มาจากการหมักหมมของสิ่งปฏิกูล จนทำให้เกิดอายพิศม์(ไอพิษ) ลอยมาในอากาศ ใครถูกอายพิศม์เข้าก็ติดโรคได้ ตราบจนกระทั่งการค้นพบ "เชื้อโรค" ความเชื่อที่ว่าโรคร้ายมาจากอายพิศม์จึงค่อยๆ เปลี่ยนเป็น "เชื้อโรค" ตัวจิ๋วที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า
การเปลี่ยนแปลงความรู้ด้านการแพทย์ของรัฐไทยสอดคล้องกับปรับตัวบทบาทของรัฐ จากรัฐจารีตที่ไม่เคยสนใจใยดีพลเมือง มาเป็นรัฐเวชกรรมที่ต้องเข้าควบคุมกำกับเรือนร่างของพลเมืองให้มีสุขภาพดีอยู่เสมอ ผ่านการสาธารณสุข การแพทย์ และการรณรงค์เรื่องสุขภาพ
จากปีศาจสู่เชื้อโรค : ประวัติศาสตร์การแพทย์กับโรคระบาดในสังคมไทย ของชาติชาย มุกสง จะฉายภาพประวัติศาสตร์ความคิดความรู้ทางการแพทย์ในสังคมไทยที่ปรับเปลี่ยนไปตามยุคสมัยเพื่อรับมือกับภัยร้ายของโรคระบาด อันจะเป็นบทเรียนที่ดีในยุคสมัยอันมืดบอดที่เราทุกคนต้องเผชิญ
บทนำ
๑. ประวัติศาสตร์ของโรคและความเจ็บป่วย
๒. โรคและความเจ็บป่วยในประวัติศาสตร์ไทย
๓. จากความหวาดกลัวปีศาจสู่เชื้อโรค ประวัติศาสตร์อารมณ์ความรู้สึกของอหิวาตกโรค
ในสังคมไทยช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๕
๔. จากไข้ป่าสู่มาลาเรีย การบุกเบิกพื้นที่เกษตรกรรมความเป็นเมืองและชนบทในประวัติศาสตร์สังคม
ของโรคมาลาเรีย ทศวรรษ ๒๔๔๐-๒๔๗๐
๕. การแพทย์ในประวัติศาสตร์ไทยการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่ส่งผลต่อการแพทย์
บรรณานุกรม