วิทยาศาสตร์แห่งความเหงา Loneliness
John T. Di Cacioppo and William Patrick เขียน
โตมร ศุขปรีชา แปล
ความเหงาเป็นสิ่งสากล…
อาจจะบ่อยหรือไม่บ่อย มากหรือน้อย แต่เชื่อว่าในชีวิตของทุกคนต้องเคย ‘เหงา’
แต่รู้ไหมว่าความเหงาไม่ใช่เรื่องของคนยุคใหม่เท่านั้น แต่ความเหงาอยู่กับเรามาแต่บรรพกาล ก่อนหน้าที่มนุษย์จะวิวัฒนาการมาเป็นมนุษย์อย่างทุกวันนี้เสียอีก
อย่างที่รู้กันว่ามนุษย์เป็นสัตว์สังคม ความเหงาจึงเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต
และที่จริง – หากปราศจากความเหงา, มนุษย์ก็อาจไม่เป็นมนุษย์อย่างที่เราเห็น
เพราะเหงา ทำให้เรารอดชีวิตจากภยันตรายต่างๆ มาได้ ผู้เขียน จอห์น ที. คาชิออปโป จากมหาวิทยาลัยชิคาโก จะพาเราไปทำความรู้จักกับ ‘ความเหงา’ ลึกซึ้งลงไปถึงแก่นของมัน ผู้เขียนศึกษาความเหงาในแง่วิทยาศาสตร์และประสาทศาสตร์มานานหลายสิบปี หนังสือเล่มนี้เรียกได้ว่าเป็นงานบุกเบิกการศึกษาเรื่องความเหงาเล่มแรกๆ ของโลกก็ว่าได้
“วิทยาศาสตร์แห่งความเหงา” จะทำให้คุณเข้าใจความเหงาอย่างลึกซึ้งยิ่งกว่าแค่ความรู้สึก
ชื่อหนังสือ: วิทยาศาสตร์แห่งความเหงา (Loneliness)
ผู้เขียน: John T. Di Cacioppo และ William Patrick
ผู้แปล: โตมร ศุขปรีชา
ออกแบบปก: พงศ์ธร ยิ้มแย้ม
หมวด: วิทยาศาสตร์ / จิตวิทยา
จำนวนหน้า: 392 หน้า