SKU : 9786167158754
หนังสือเล่าแง่มุมและความเป็นมาเป็นไปของกฎหมายและความยุติธรรมตั้งแต่จุดเริ่มต้นของอารยธรรมมนุษย์ กฎหมายคืออะไร รับใช้มนุษย์อย่างไร เล่าแบ่งเป็นช่วงๆ จากปรัชญาโสฟิสต์ โรมัน สโตอิก ยุคกลาง ขึ้นมาจนถึงยุคสมัยใหม่ ศตวรรษที่ 18 และศตวรรษที่ 20
หมวดหมู่ : หนังสือ ,  กฎหมาย ,  สังคมและวัฒนธรรม ,  การเมือง , 
แบรนด์ : อ่าน
Share
ประวัติศาสตร์ความคิดนิติปรัชญา
หนังสือโดย วรเจตน์ ภาคีรัตน์ ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 2 แก้ไขปรับปรุง
หนังสือเล่าแง่มุมและความเป็นมาเป็นไปของกฎหมายและความยุติธรรมตั้งแต่จุดเริ่มต้นของอารยธรรมมนุษย์ กฎหมายคืออะไร รับใช้มนุษย์อย่างไร เล่าแบ่งเป็นช่วงๆ จากปรัชญาโสฟิสต์ โรมัน สโตอิก ยุคกลาง ขึ้นมาจนถึงยุคสมัยใหม่ ศตวรรษที่ 18 และศตวรรษที่ 20
"ในระหว่างการพิมพ์หนังสือเล่มนี้ครั้งแรกในต้นปี พ.ศ. ๒๕๖๑ จนถึงการพิมพ์ครั้งที่สองในต้นปี ๒๕๖๔ นี้ ได้มีการโอนคดีที่ผู้เขียนไม่ไปรายงานตัวตามคำสั่งของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) จากศาลทหารกรุงเทพไปยังศาลแขวงดุสิต ในการพิมพ์ครั้งแรก ผู้เขียนได้กล่าวไว้ในคำนำว่า ในห้องพิจารณาคดีระหว่างที่ศาลทหารกรุงเทพดำเนินกระบวนพิจารณานั้น บ่อยครั้งที่ความคิดของผู้เขียนได้ล่องลอยไปสู่โลกแห่งนิติปรัชญา สถานการณ์ที่ศาลแขวงดุสิตก็ไม่ได้แตกต่างไปจากเดิมมากนัก ถึงแม้ผู้เขียนรู้สึกว่าคดีดังกล่าวดูจะไม่มีสาระและไม่เป็นประโยชน์อันใดแก่ระบบกฎหมาย แต่ผู้คนในกระบวนการ “ยุติธรรม” ก็ยังคงกระทำการทุกอย่างไปตามบทบาทที่ได้รับมอบหมายมา ผู้เขียนเองไม่ว่าจะเต็มใจหรือไม่ ก็ต้องปฏิบัติไปตามบทบาทของจำเลยเช่นกัน แม้กระนั้นในฐานะที่เป็นผู้สอนวิชากฎหมายรัฐธรรมนูญ กฎหมายปกครอง และนิติปรัชญา การรับบทบาทจำเลยในคดีลักษณะเช่นนี้ก็มีด้านที่ท้าทายอยู่ และเป็นโอกาสอันดีที่จะนำปัญหาทางกฎหมายอันเชื่อมโยงกับแนวความคิดในทางนิติปรัชญาไปสู่ทางปฏิบัติ นั่นคือ ปัญหาว่าประกาศ คสช. ที่กำหนดโทษทางอาญาแก่บุคคลที่ไม่ไปรายงานตัวตามคำสั่งซึ่งกำหนดขึ้นภายหลังจากที่ คสช. เข้าช่วงชิงอำนาจรัฐโดยใช้กำลังทหาร ถือเป็นกฎหมายหรือไม่ ถ้าหากเป็นกฎหมายแล้วจะใช้บังคับได้หรือไม่ เพียงใด"
— วรเจตน์ ภาคีรัตน์, บางตอนจากคำนำฉบับพิมพ์ครั้งที่ ๒
จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์อ่านกฎหมาย ในเครือสำนักพิมพ์อ่าน
ISBN: 9786167158754
ผู้แต่ง : วรเจตน์ ภาคีรัตน์
สำนักพิมพ์ : อ่าน
ปีที่พิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 2 กุมภาพันธ์ 2564
จำนวนหน้า : 544