“เมื่อใดเป็นชาติไทย” เป็นข้อถกเถียงที่ดำเนินมายาวนานกว่า 50 ปี และคาดว่าจะยังคงเป็นข้อถกเถียงที่เข้มข้นต่อไปเรื่อยๆ
หนังสือรวมบทความเล่มนี้จะช่วยเพิ่มความเข้าใจและขยายมุมมองในการศึกษาเรื่อง “ชาติไทย” ที่มีความซับซ้อน ยุ่งเหยิง และวุ่นวาย จากทั้งสาขาวิชา ทฤษฎี ระเบียบวิธี และกรอบวิธีการศึกษา ยังไม่รวมถึงอุดมการณ์และอคติทางการเมืองของนักวิชาการแต่ละท่าน
“ชาติ” นั้นเป็นสิ่งที่น่าหลงใหลและน่าเบื่อ และไม่ว่าจะรักหรือจะชัง คุณก็ไม่สามารถหนีมันไปได้
บทนำ – เมื่อใดจึงเป็น(รัฐ)ชาติไทย : เมื่อตาบอดวิ่งหารัฐชาติไทย โดย ฐนพงศ์ ลือขจรชัย
เมื่อ(รัฐ)ชาติไทยไม่ใช่ “ช้าง” ที่คลำได้ (ต่อให้ตาใสก็เถอะ) โดย ธงชัย วินิจจะกูล
บทที่ 1 เมืองไทยยุคใหม่: สัมพันธภาพระหว่างรัฐกับประวัติศาสตร์สำนึก โดย สมเกียรติ วันทะนะ
บทที่ 2 แนวความคิดชาติบ้านเมือง: กำเนิด พัฒนาการ และอำนาจการเมือง โดย นครินทร์ เมฆไตรรัตน์
บทที่ 3 แนวคิดสาธารณรัฐนิยมในประวัติศาสตร์ไทย โดย แพทริค โจรี
บทที่ 4 การอ่านประวัติศาสตร์ “ไทย” ผ่านกรอบคิดเรื่อง “ชาติพันธุ์” ในห้วงยามที่ตัวแบบความเป็น “ไทย” ในกรอบวิธีคิดชาตินิยมซึ่งมีอายุเก่าแก่กว่าศตวรรษกำลังเสื่อมถอยโรยรา โดย เดวิด สเตร็คฟัส
บทที่ 5 คนเอเชียในบังคับต่างประเทศกับการสร้างความเป็นพลเมืองของสยามสมัยใหม่ โดย ศิวศิลป์ จุ้ยเจริญ
บทที่ 6 ชาติไทยของสยามเหนือชาวปัตตานีมลายูในศตวรรษที่ 19 โดย ฐนพงศ์ ลือขจรชัย
บทที่ 7 จาก “มลายูปาตานี” สู่ “มุสลิม”: ภาพหลอนแห่งอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ในภาคใต้ของไทย โดย แพทริค โจรี
บทที่ 8 การสร้างรัฐประชาชาติไทยกับการต่อสู้ด้วยอาวุธของชาวนาอีสาน: กรณีบ้านนาบัว จังหวัดนครพนม โดยสมชัย ภัทรธนานันท์
บทที่ 9 ปัญหาการปรับใช้ทฤษฎีชาติในไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคพื้นทวีป โดย ฐนพงศ์ ลือขจรชัย
ผู้แต่ง : สมเกียรติ วันทะนะ , ธงชัย วินิจจะกูล , นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ , แพทริค โจรี , เดวิด สเตร็คฟัส , สมชัย ภัทรธนานันท์ , ฐนพงศ์ ลือขจรชัย , ศิวศิลป์ จุ้ยเจริญ
จำนวนหน้า : 352 หน้า
สำนักพิมพ์ : Illuminations Editions