ในหมู่ที่สนใจวิชาปรัชญาและการเมือง ย่อมเป็นที่รู้กันดีอยู่แล้วว่า สถานะของมาคิอาเวลลีในไทย ถูกยกให้เป็นเจ้าแห่งวิชารัฐศาสตร์ ที่นักเรียนรัฐศาสตร์หลายคนต่างต้องเคยผ่านตากับชื่อหรือผลงานของมาคิอาเวลลีมาไม่มากก็น้อย
อย่างไรก็ตาม เรามักเข้าใจกันว่า มาคิอาเวลลี เริ่มเป็นที่สนใจศึกษากันในไทยเมื่อช่วงทศวรรษที่ 2500 ที่เริ่มมีการศึกษาวิชารัฐศาสตร์ในมหาวิทยาลัยต่างๆ ก่อนที่มาคิอาเวลลีจะถูกยกให้เป็นเจ้าแห่งวิชารัฐศาสตร์ เมื่อสมบัติ จันทรวงศ์ แปลตัวบท The Prince ใน พ.ศ. 2538 แต่ความจริงแล้ว สังคมไทยรู้จักมาคิอาเวลลีมานานกว่านั้นมาก และอาจรู้จักมานานตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนปลายผ่านชาวตะวันตกที่เข้ามาค้าขายในอยุธยา และปรากฏขึ้นอีกครั้งในสมัยรัชกาลที่ 5 ผ่านนายทหารชาวอิตาเลียนที่เข้ามารับราชการในไทย และส่งต่อแนวคิดของมาคิอาเวลลีต่อไปยังกลุ่มชนชั้นนำไทยอย่าง เจ้าฟ้า จักรพงษ์, พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์, พระยาอนุมานราชธน ได้พูดถึงและกล่าวถึง มาคิอาเวลลี และมีลักษณะการกระทำการแสดงออกบางอย่างที่คล้ายคลึงกับแนวคิดของมาคิอาเวลลีอีกด้วย
ดังนั้น ทั้งผลงานและแนวคิดของมาคิอาเวลลีที่ปรากฏอยู่ในสังคมไทย ไม่ใช่สิ่งที่สังคมไทยเพิ่งรู้จักกันในทศวรรษที่ 2500 แต่มีอยู่นานก่อนหน้านั้นแล้ว เพียงแต่หลังทศวรรษที่ 2500 เป็นต้นมา การศึกษาแบบรัฐศาสตร์ปรัชญาและบริบทสังคการเมืองได้มีส่วนช่วยให้ผลงานและแนวคติดของมาคิอแวลลี กลายเป็นที่รู้จักในสังคมไทยเป็นวงกว้างมากขึ้นนั่นเอง
ISBN 9789740216582
ปกอ่อน กระดาษ กรีนรีด
จำนวนหน้า 344 หน้า
กว้าง 14.50 ซม. x สูง 21.00 ซม. x หนา 2.00 ซม.
พิมพ์ครั้งที่ 1 : มีนาคม 2562
สำนักพิมพ์มติชน