การค้าไม่เคยแยกจากมิติทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม แต่ผสานกลมกลืนเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตของผู้คนมายาวนาน การค้าของรัฐดินแดนตอนใน (ไม่ติดทะเล) อย่างล้านนา มีส่วนอธิบายการก่อรูปของรัฐผ่านการปฏิสัมพันธ์กันของกลุ่มคนในระดับต่างๆ และพื้นที่ทางการค้าเหล่านี้เองที่สร้างเงื่อนไขของกระบวนการรับรู้ความต่างระหว่างชาติพันธุ์ ฉะนั้นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นและเข้ามากระทบต่อโครงสร้างความสัมพันธ์ทางการค้าการแลกเปลี่ยนจึงส่งผลต่อการปรับตัวและการเปลี่ยนแปลงมิติความสัมพันธ์ในด้านอื่นไปด้วยพร้อมกัน
หนังสือเล่มนี้จึงมุ่งชี้ให้เห็นว่าเครือข่ายความสัมพันธ์ทางการค้าในล้านนาก่อนยุคเทศาภิบาลไม่อาจแยกจากเครือข่ายความสัมพันธ์ทางการเมือง ทว่าสามารถอธิบายกระบวนการการก่อรูปของรัฐจารีตและการสร้างเสถียรภาพภายในอาณาจักรผ่านการกลายเป็นศูนย์กลางการค้าได้ทางหนึ่ง
๑. ผู้คนและการค้า
พื้นที่การค้า
บริบทและการเปลี่ยนแปลง
การค้าในโลกวิชาการ
เมื่อผู้คนไม่อาจแยกจากตลาด และประวัติศาสตร์ไม่เคยแยกจากผู้คน
๒. ขึ้นดอย ลอยห้วย
ภูมิศาสตร์ทางวัฒนธรรม การค้า และการแลกเปลี่ยน
การค้า องค์ประกอบของการตั้งเมือง และการกลายเป็นเมือง
กระบวนการก่อรูปของรัฐจารีต และการควบคุมกำลังคน/ทรัพยากร
การค้าทางบก การไหลเวียนของส่วย สินค้า และผู้คน
การค้าทางเรือและลำน้ำสายสำคัญ
๓. ตลาดและเส้นทางการค้า
ทางหลักทางรอง
รัฐล้านนาขยายเครือข่ายการค้า
เหตุไฉนเส้นทางเปลี่ยน
เมืองและตลาด
การแข่งขันเพื่อครอบครองตลาด
๔. สินค้า เงินตรา และเครือข่าย
โยนก (เชียงแสน)กับเครือข่ายการค้าตอนบน
หริภุญไชยกับเครือข่ายการค้าเมืองท่า
รายการสินค้า
เงินตรา
๕. คนกับชีวิตในตลาด
ตลาด พื้นที่แห่งการเรียนรู้
วรรณกรรมและเรื่องเล่าถึงผู้คน
๖. ระหว่าง ๒๔๔๒
“ผลิตเพื่อขาย”
กลุ่มชนชั้นนำใหม่
การเมืองของสยามในล้านนา
เงี้ยวก่อจลาจล
ความขัดแย้งของโลกทางความคิด
---
กาดก่อเมือง
ผู้เขียน: วราภรณ์ เรืองศรี
สำนักพิมพ์: ศิลปวัฒนธรรม
จำนวนหน้า: 312 หน้า ปกอ่อน
ISBN: 9789740217329