SKU : 9786169363705
รวมบทความของฮิโตะ ชไตร์ล ประเด็นชั่ยๆ ของยุคร่วมสมัยในความเกี่ยวดองของ #เทคโนโลยี #ศิลปะ และ #การทหาร
หมวดหมู่ : หนังสือ ,  สังคมและวัฒนธรรม ,  การเมือง , 
Share
“สแปมรูปภาพไม่ใช่ภาพแทนของผู้คน เพราะไม่ว่าจะในกรณีใดก็ตาม ชีวิตของผู้คนไม่ใช่เรื่องของการสร้างภาพแทน”
หนังสือเข้าใหม่ น่าสนใจมาก เป็นรวมบทความของฮิโตะ ชไตเยิร์ล คนทำหนัง ศิลปิน และนักเขียนชาวเยอรมนี ที่เล่าเรื่อง ถกเถียง ตั้งประเด็น เครื่องมือทางศิลปะต่างๆ คู่กับความเป็นไปในสังคม โดยเฉพาะเมื่อเกี่ยวเนื่องกับเทคโนโลยีและการทหาร เช่นว่า
ภาพถ่ายถูกใช้เป็นภาพตัวแทนอย่างไรและได้ส่งเสริม ลดทอน จิตวิญญาณของมนุษย์ไปแบบไหน
ออกแบบการฆ่าคนโดยรัฐ ด้วยวิธีคิดเหมือนว่าเป็นการแก้ปัญหาด้านการออกแบบ
โฆษณาสแปมกำลังบอกอะไรกับเรา และทำให้มนุษย์ผู้รับรู้หรือไม่รับรู้กลายเป็นอะไร
ทำไมศิลปะจึงดูดึงดูดใจและมันทำงานกับใครกันแน่ โดยเฉพาะในโลกยุคหลังประชาธิปไตย?
สุนทรียศาสตร์สัมพันธ์ยังไงกับการต่อต้าน
และอื่นๆอีกหลายเรื่อง
เป็นหนังสือที่น่าตื่นตา ด้วยหัวข้อและเรื่องชวนคิดไม่ธรรมดา
—
หนังสือเล่มนี้ คือหนังสือรวมบทความ ที่แปลจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยจากผลงานของ ฮิโตะ ชไตเยิร์ล (Hito Steyerl) และในโลกศิลปะร่วมสมัย คงไม่มีใครไม่รู้จัก เธอเป็นทั้งนักทฤษฎีและเป็นนักปฏิบัติไปพร้อมๆ กัน หรือบางคนก็เรียกเธอว่า ‘นักทฤษฎีในฐานะศิลปิน’ (theorist-as-artist) และ ‘ศิลปินในฐานะนักทฤษฎี’ (artist-as-theorist) ทั้งงานเขียนและงานศิลปะของเธอสำรวจและถกเถียงประเด็นต่างๆ ที่เกิดขึ้น ณ ขณะหนึ่งในโลกร่วมสมัย ทั้งในด้านการเมือง สังคม เทคโนโลยี และวัฒนธรรม ยิ่งไปกว่านั้น งานของเธอยังไต่ถามถึงบทบาทหน้าที่ของสื่อในยุคโลกาภิวัฒน์ การแพร่กระจายของสื่อและวัฒนธรรมที่พ่วงไปกับสื่อนั้นในยุคดิจิตอล จนไปถึงเรื่องสงครามและเทคโนโลยีทางการทหาร
Hito Steyerl
รวมบทความของฮิโตะ ชไตเยิร์ล
ประเด็นชั่ยๆของยุคร่วมสมัยในความเกี่ยวดองของ #เทคโนโลยี #ศิลปะ และ #การทหาร
ภาพปกดัดแปลงจากโลโก้ของกระทรวงดิจิทัลฯ
-------
รวมบทความของฮิโตะ ชไตร์ล: Hito Steyerl
ผู้แปล: อธิป จิตตฤกษ์ เก่งกิจ กิติเรียงลาภ, พนา กันธาจุฑา สุวรรณมงคล
สำนักพิมพ์: ซอย
จำนวนหน้า: 392 หน้า ปกอ่อน
หนังสือราคา 490 บาท