"ชาตรี ประกิตนนทการ เป็นนักวิชาการที่มีความละเอียดลออในการนำเสนอและให้ความกระจ่างในประเด็นต่างๆ 'ศิลปะ-สถาปัตยกรรมคณะราษฎร' ซึ่งเป็นหนึ่งในผลงานของเขา ได้เปิดพรมแดนใหม่ทางศิลปะและสถาปัตยกรรมไทยและสร้างความรู้ได้อย่างลุ่มลึกและรอบด้าน
และแน่นอน ผู้อ่านจะได้มองสิ่งก่อสร้าง อนุสาวรีย์ และสิ่งของต่างๆ ซึ่งเป็นศิลปะสกุลนี้ ด้วยสายตาและความเข้าใจแบบใหม่"
จาก ประชา สุวีรานนท์
ท่ามกลางบรรยากาศของการ "ทุบ-รื้อ-ถอน-ทำลาย" ศิลปะและสถาปัตยกรรมของคณะราษฎรที่ผ่านมา สิ่งหนึ่งที่ทำให้การทุบทำลายเกิดขึ้นโดยมิต้องไตร่ตรองและโดยไม่มีผู้ใดคัดค้าน ก็เนื่องด้วย ความรู้-ความเข้าใจต่อศิลปะและสถาปัตยกรรมไทยในช่วงทศวรรษ 2475-2490 ถูกอธิบายหรือทำให้เข้าใจว่าเป็นเพียง "ศิลปะนอกขนบ" เป็นศิลปะที่อยู่ตรงกันข้ามกับ "ความเป็นไทย"
ใน เดือนตุลาคม พ.ศ. 2552 จากความพยายามของ ชาตรี ประกิตนนทการ เขาได้รวบรวมบทความที่เกี่ยวข้องกับ ศิลปะและสถาปัตยกรรมไทยในทศวรรษ 2475-2490 จำนวน 6 เรื่อง มาพิมพ์รวมเล่มกันเป็นครั้งแรก ในชื่อหนังสือ ศิลปะ-สถาปัตยกรรมคณะราษฎร เพื่ออธิบายและนิยามรูปแบบศิลปะและสถาปัตยกรรมที่ถูกหลงลืมและละเลยในวงการศิลปะไทยว่าเป็น "ศิลปะ-สถาปัตยกรรมคณะราษฎร" (และเป็นที่มาของชื่อหนังสือด้วย) อันเป็นศิลปะที่แฝงฝังไปด้วยอุดมการณ์และศรัทธาต่อระบอบประชาธิปไตย
และใน มิถุนายน พ.ศ. 2563 อันเป็นปีครบรอบ 88 ปี การปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครอง
หนังสือ ศิลปะ-สถาปัตยกรรมคณะราษฎร ของ ชาตรี ประกิตนทการ ได้กลับมาอีกครั้งเป็นหนังสือปกแข็งน่าสะสมพร้อมกับขนาดที่ใหญ่และหนาขึ้น และแน่นอนบรรจุอันแน่นด้วยบทความจากพิมพ์ครั้งแรก 6 เรื่อง และพิมพ์ครั้งใหม่ 4 เรื่อง
ผู้ที่สนใจประวัติศาสตร์ศิลปะหรือเป็นนักอ่านทั่วไป ไม่ควรพลาดด้วยประการทั้งปวง
บทนำ
ศิลปะ-สถาปัตยกรรมคณะราษฎร พ.ศ. ๒๔๗๕-๒๔๙๐
๑ ปฐมบรมราชานุสรณ์ ในงานฉลองพระนครครบ ๑๕๐ ปี : อนุสาวรีย์สุดท้ายในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์
๒ เมรุคราวปราบกบฏบวรเดช :เมรุสามัญชนครั้งแรกกลางท้องสนามหลวง
๓ ศิลปะคณะราษฎร
๔ โดมธรรมศาสตร์และการเมือง
๕ วัดพระศรีมหาธาตุ บางเขน : วัดสัญลักษณ์ประชาธิปไตยยุคคณะราษฎร
๖ งานฉลองรัฐธรรมนูญ ๒๑๙ ๗ สิ่งของ(คณะ)ราษฎร
๘ เหตุผลที่สังคมไทยไม่ควรยอมให้ “รื้อ-สร้าง” กลุ่มอาคารศาลฎีกา
๙ คณะราษฎรหลังรัฐประหาร ๑๙ กันยาฯ ๔๙๓๑๑