การเดินทางและท่องเที่ยวในประเทศไทยเริ่มขึ้นเมื่อใด??
ใครเป็นผู้กำหนดให้คุณสามารถท่องเที่ยว??
รู้หรือไม่ว่า การท่องเที่ยวเกี่ยวข้องกับชนชั้นและความสัมพันธ์เชิงอำนาจแทบทั้งสิ้น??
อะไรคือรากฐานที่แท้จริงของการท่องเที่ยวไทย??
ประวัติศาสตร์แห่งการเดินทางและภูมิศาสตร์การเมืองในรอบศตวรรษ เป็นหนังสือความรู้ในเชิงประวัติศาสตร์ พูดถึงความสัมพันธ์เชิงอำนาจของการท่องเที่ยวที่ดำรงอยู่ในสังคมไทยผ่านสถานภาพของชนชั้นในสังคม
ที่จริงแล้วอำนาจเป็นตัวกำหนดความสามารถในการเดินทางและเข้าถึงสถานที่ต่างๆ หนังสือเล่มนี้ฉายภาพให้เห็นว่า การท่องเที่ยวไปในแดนต่างๆ สะท้อนให้เห็นพลานุภาพของอำนาจทางการเมืองอย่างไร
แต่ละยุคสมัยมีเงื่อนไขและปัจจัยที่ส่งผลต่อการเดินทางและการท่องเที่ยวที่แตกต่างกัน การเกิดขึ้นของแหล่งท่องเที่ยวหรือการกลายเป็นที่นิยม จึงขึ้นอยู่กับสาเหตุที่แตกต่างกันไปด้วย การอธิบายลักษณะเฉพาะและความเปลี่ยนแปลงเช่นนี้ ใช้กรอบศึกษาทางประวัติศาสตร์ในการวิเคราะห์เป็นพื้นฐาน โดยขยายพื้นที่ของประวัติศาสตร์สังคมอันจะแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ทางสังคมและผู้คนในยุคสมัยต่างๆ พร้อมไปกับนโยบายของรัฐกับบทบาทที่ขยายตัวขึ้นอย่างมากในช่วงหลังสงครามเย็น อันกลายเป็นรากฐานสำคัญของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในทุกวันนี้
ทดลองอ่านบทกล่าวนำ การท่องเที่ยวหลังโรคระบาด ความพังพินาศของสามัญชนกับทางรอดเศรษฐกิจไทย
คลิก https://www.sm-thaipublishing.com/content/8736/pinyapan-intro-thai-tourism
┈ ┉ ┈
ประวัติศาสตร์แห่งการเดินทางและภูมิศาสตร์การเมืองในรอบศตวรรษ
ว่าด้วยการท่องเที่ยว ในฐานะมรดกแห่งการสร้างชาติของรัฐไทย จากรัฐจารีต สงครามเวียดนาม สู่ยุครัฐประหาร 2549 (On Thai Tourism)
ภิญญพันธุ์ พจนะลาวัณย์ : เขียน
วริศ ลิขิตอนุสรณ์ : บรรณาธิการเล่ม
ปิยะวิทย์ เทพอำนวยสกุล : บรรณาธิการสำนักพิมพ์
DESIGN | ● สมมติ STUDIO ● | จิรวัฒน์ รอดอิ่ม
ฉบับพิมพ์ครั้งแรก ตุลาคม 2563
ความหนา : 272 หน้า