เมื่ออยู่ในที่สาธารณะแล้วเจอคนที่กำลังต้องการความช่วยเหลือ คุณเป็นคนประเภทไหน? รีบพุ่งเข้าไปช่วย ดูท่าทีคนอื่นก่อน หรือแค่มองเฉยๆ เพราะมันไม่ใช่เรื่องของตัวเอง
ตอนยังเรียนที่โรงเรียน คุณเป็นคนหนึ่งหรือเปล่าที่ปล่อยให้เพื่อนโดนบูลลี่อยู่ทุกวัน ทั้งที่ในใจคุณก็สงสารและไม่ชอบเห็นใครโดนรังแก
ในสังคม คุณปล่อยให้คนอ่อนแอโดนคนนิสัยไม่ดีเอาเปรียบหรือเปล่า เมื่อเห็นสามี-ภรรยาทะเลาะกันและเริ่มรุนแรงขึ้น คุณจะเข้าไปแทรกแซง หรือคิดว่าไม่ยุ่งดีกว่าเพราะไม่อยากมีเรื่อง
คุณเคยสงสัยไหมว่าทำไมคนเราจึงปล่อยให้เรื่องไม่เหมาะไม่ควรดำเนินต่อไปได้ เมื่อเห็นความไม่เป็นธรรมในสังคม คุณอยู่ในตำแหน่งใด ผู้กระทำ คนที่เฉยเมย คนที่ตั้งคำถาม คนที่ตำหนิไปเรื่อย หรือคนที่ลงมือแก้ไข คำตอบนั้นไม่ตายตัว เพราะคุณอาจทำทุกอย่างอย่างละนิดหรืออาจไม่ทำอะไรเลย
ทว่าคนที่เหมือนไม่แสดงออกนั้นเขาอิกนอร์จริงๆ หรือแค่มีวิธีการที่ต่างออกไป อะไรที่ทำให้คนเราออกมาแสดงจุดยืนหรือลงมือช่วยเหลือ อะไรที่ทำให้คนเรากล้าทำไม่ดีกับคนอื่นถึงขนาดนั้น จุดไหนคือเส้นตายที่ชี้ว่าคุณควรเข้าไปแทรกแซงได้แล้วก่อนเรื่องราวจะบานปลาย และเมื่อไหร่กันที่คุณไม่ได้แค่ ‘คอลเอาต์’ แต่กลับกำลังละเมิดสิทธิของคนอื่น
ตั้งแต่เรื่องเล็กอย่างการช่วยคนเป็นลมบนรถไฟฟ้าไปจนถึงเรื่องใหญ่อย่างความอยู่รอดของบ้านเมือง ทุกคนอาจ ‘อิกนอร์’ และ ‘คอลเอาต์’ ได้ในหลากหลายรูปแบบ ขีดจำกัดของแต่ละคนแตกต่างกันไป ข้อสำคัญคือทุกอย่างควรเกิดจากความเข้าใจอันถ่องแท้และต้องตั้งอยู่บนการเคารพสิทธิของกันและกัน
เรา 'คอลเอาต์' ได้ ในแบบของเราเอง
-----------------------
จิตวิทยาของการ (ไม่) อิกนอร์: Why We Act: Turning Bystanders Into Moral Rebels
ผู้เขียน: Catherine A. Sanderson
ผู้แปล: ณิชาภา ชิวะสุจินต์
สำนักพิมพ์: Cactus Publishing
จำนวน: 294 หน้า ปกอ่อน
พิมพ์ ตุลาคม 2564
ISBN: 9786164992524