ปี 2021 เยอรมนีมีอายุครบ 150 ปี เมื่อเทียบกับประเทศอื่นก็ถือว่าไม่ใช่ประเทศที่เก่าแก่แต่อย่างใด หากแต่ไม่มีประเทศใดในโลกที่มีประวัติศาสตร์อันบอบช้ำ เรื่องราวแห่งความน่าสะพรึงกลัว และเผด็จการ ขณะเดียวกันก็เป็นประเทศที่มีรัฐธรรมนูญแข็งแกร่ง การเมืองมีวุฒิภาวะ และมีเศรษฐกิจที่ไร้เทียมทาน
ผู้เขียนซึ่งเป็นชาวอังกฤษที่เคยอาศัยและทำงานในเยอรมนี กล่าวว่า เราคงต้องยอมรับว่า เยอรมนีเป็นดวงประทีปแห่งศีลธรรมและการเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเทียบกับสหราชอาณาจักร ประเทศบ้านเกิดของผู้เขียน ที่เป็นเหมือนพี่เลี้ยงให้กับเยอรมนีในช่วงหลังสงคราม ทว่าตอนนี้ สหราชอาณาจักรกลับถดถอยลงในหลายๆด้าน ผู้เขียนนิยามความเป็นเยอรมนี 4 ช่วง คือ ปี 1949, 1968, 1989 และ 2015 ตั้งแต่ปีค.ศ. 1945 ถึง 1949 คือยุคของการฟื้นฟูประเทศหลังสงคราม และก่อร่างสร้างรัฐธรรมนูญที่ชาวเยอรมันภูมิใจ
ในปีค.ศ.1968 ซึ่งเป็นเหตุการณ์สำคัญครั้งที่สอง เพราะเกิดการก่อการร้ายในประเทศแต่เยอรมนีก็เอาชนะ และทำให้ประชาธิปไตยเบ่งบานในประเทศ ในปี 1989 คือเหตุการณ์ที่โลกไม่เคยลืมเมื่อกำแพงเบอร์ลินล่มสลายและเกิดการรวมชาติ และในปี 2015 คือวิกฤตผู้ลี้ภัยที่นายกรัฐมนตรีของเยอรมนีตัดสินใจ เปิดประตูให้คลื่นมนุษย์หลั่งไหลเข้ามาในประเทศ ก่อให้เกิดบทเรียนราคาแพงทางการเมือง บาดแผลสังคม และความเห็นที่แตกแยกทางการเมือง แต่เยอรมนีก็ยังคงยืนเด่นตระหง่าน แม้จะเป็นประเทศที่เพื่อนบ้านยุโรปด้วยกันทั้งรักทั้งเกลียด แต่ก็ไม่มีใครปฏิเสธว่าเยอรมนีคือประเทศต้นแบบในโลกนี้
ในเล่มผู้เขียนนำบทสัมภาษณ์ของผู้คนที่ได้พบเจอ ประสบการณ์ตรง และหลักฐานอ้างอิงมาร้อยเรียง เพื่อคลี่ให้เห็นถึงความเป็นเยอรมันที่ใครๆ ต่างก็ตั้งคำถามว่า ทำไมเยอรมันถึงทำได้ดีกว่าคนอื่น
-----------------------
คิดแบบเยอรมัน เขาทำกันยังไง: Why the Germans Do it Better
ผู้เขียน: John Kampfner
ผู้แปล: เจนจิรา เสรีโยธิน
สำนักพิมพ์: Be(ing)
จำนวน: 400 หน้า ปกอ่อน
พิมพ์ ธันวาคม 2564
ISBN: 9786168293270