การเปลี่ยนแปลงโลกทัศน์ของชนชั้นผู้นำไทย ตั้งแต่รัชกาลที่ 4 ถึงพุทธศักราช 2475 / อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์ / สมมติ

คุณสมบัติสินค้า:

SKU : 9786165620369

ใครควรกำหนดประวัติศาสตร์ชาติ กษัตริย์หรือสามัญชน?

แบรนด์ : สมมติ

Share

หนังสือเล่มนี้เน้นการวิเคราะห์ความเปลี่ยนแปลงทางความคิดของชนชั้นนำไทยในยุคที่สังคมไทยได้เริ่มก้าวเข้าสู่สมัยใหม่ แสดงให้เห็นถึงการสูญเสียอำนาจในการอธิบายโลกและมนุษย์...นำไปสูการมีแนวความคิดว่า พระมหากษัตริย์คือ ผู้กำหนดวิถีประวัติศาสตร์ของไทยให้ดำเนินไปสู่ความก้าวหน้า ซึ่งกลายเป็นแรงผลักดันให้ชนชั้นนำสร้างรัฐสมบูรณาสิทธิราชย์ที่พระมหากษัตริย์ทรงมีพระราชอำนาจเด็ดขาดสูงสุดอย่างแท้จริง

เมื่อเกิดรัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์ขึ้นแล้ว ก็มีความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองเศรษฐกิจ สังคม ตลอดจนวัฒนธรรมทางความคิด...การที่กลุ่มคนจำนวนไม่น้อยที่ดำรงชีวิตอยู่ท่ามกลางควาเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม...ทำให้คนกลุ่มนี้มีความสำนึกในศักยภาพของตนและมีจิตสำนึกแบบปัจเจกชนนิยมสูงขึ้นมาก... กลายเป็นพลังทางความคิดที่ส่งผลให้เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475

ปฏิบัติการทางสังคมหรือการเมืองของคนแต่ละกลุ่มนั้น มีพลังทางความคิดอันเกิดจากเงื่อนไขปัจจัยทางเศรษฐกิจและสังคมที่ซับซ้อนเกินกว่าจะจัดการได้ด้วยอำนาจรัฐ หรืออำนาจของบุคคลหรืกลุ่มบุคคล และการแก้ไขหรือการป้องกันปัญหาต่างๆ ไม่ใช่เรื่องที่จะเกิดขึ้นได้ชั่วข้ามคืน เพราะเป็นผลมาจากปฏิสัมพันธ์ ระหว่างมนุษย์กับโครงสร้างสังคมที่มีพลวัตอยู่ตลอดเวลาส่งผลให้ต้องสร้างระบบการเมืองที่เป็นประชาธิปไตยมากขึ้น เพื่อให้คนทุกกลุ่มมีส่วนร่วมทางการเมือง และมีอำนาจต่อรองอย่างเสมอภาค

----------------------------------------

การเปลี่ยนแปลงโลกทัศน์ของชนชั้นผู้นำไทย ตั้งแต่รัชกาลที่ 4 ถึงพุทธศักราช 2475
ผู้เขียน อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์
สำนักพิมพ์ สมมติ
จำนวนหน้า 392 หน้า ปกอ่อน
พิมพ์ครั้งที่ 1 เมษายน 2565
ISBN 9786165620369
Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้