“… วันนี้ “ประตูปฏิรูปสถาบันกษัตริย์กำลังถูกปิดลง” ภายหลังจากศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าการแสดงออกเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2563 เป็นการล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข และภายใต้การก่อ “นิติสงคราม” ปราบปรามเยาวชนอย่างต่อเนื่อง …”
หนังสือรวบรวมข้อเขียน บทความ บทอภิปราย การบรรยาย และบทสัมภาษณ์เกี่ยวกับประเด็นสถาบันกษัตริย์ ตั้งแต่ 2549 จนถึง 2565 ของ ปิยบุตร แสงกนกกุลที่กระจัดกระจายอยู่ในที่ต่างๆ ทั้งหนังสือพิมพ์ วารสารวิชาการ หนังสือเล่ม เว็บไซต์ เพจเฟสบุ๊ค คลิปวิดีโอบันทึกการเสวนาเสมือนเป็น “บันทึกการเดินทาง” ของการรณรงค์ต่อสู้เรื่องปฏิรูปสถาบันกษัตริย์แต่ละช่วงแต่ละตอน สัมพันธ์กับสถานการณ์ทางการเมืองและผูกโยงเข้ากับวิกฤตการเมืองไทยตั้งแต่ปี 2548 ซึ่งจนวันนี้ ยังไม่สิ้นสุดลง
สารบัญ
1.จดหมายเปิดผนึก กรณีการชุมนุม 10 สิงหาคม 2563
2.การปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ คือ ความจำเป็นของยุคสมัย
3.การปฏิรูปสถาบันกษัตริย์จะเกิดขึ้นได้อย่างไร?
4.ข้อเสนอต่อขบวนการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์
5.การปฏิรูปสถาบันกษัตริย์: จาก “คณะราษฎร” 2475 ถึง “ราษฎร” 2563
6.เมื่อประเด็นปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ค่อยๆ เลือนหายไปจากพื้นที่สาธารณะ
7.กษัตริย์ต้องไม่ลงนามรับรองรัฐประหาร : ข้อเสนอที่ 10 ของแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม
8.จากกรณีประสิทธิ์ เจียวก๊ก ถึงการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์
9.การถวายพระพรชัยมงคลที่ดีที่สุดมิใช่การเปล่งเสียง “ทรงพระเจริญ” แต่คือการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์
10.ควรเลิกการโฆษณาประชาสัมพันธ์โครงการ “…พระราชทาน” ได้แล้ว
11.วิเคราะห์การอภิปรายในสภาผู้แทนราษฎรกรณีงบสถาบันกษัตริย์
12.การจัดการงบประมาณสถาบันกษัตริย์
13.กรณีแอมมี่: สังคมประชาธิปไตยจำเป็นต้องอดทนอดกลั้นกับความเห็นที่แตกต่าง
14.การให้เหตุผลของรอแยลลิสต์บางฝ่ายไม่เป็นคุณต่อสถาบันกษัตริย์
15.Democracy หรือ Monarchy รอแยลลิสต์ที่ฉลาดย่อมไม่ตั้งคำถามสำรวจความเห็นแบบนี้
16.ความเห็นแย้งต่อคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 19/2564
17.“ผมต้องกลับมาพูดเรื่องปฏิรูปสถาบันกษัตริย์อย่างจริงจังอีกครั้ง”
18.พิมพ์เขียวปฏิรูปสถาบันกษัตริย์
.
ภาคผนวก 1 ร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม หมวด 2 พระมหากษัตริย์ เสนอโดย ปิยบุตร แสงกนกกุล
ภาคผนวก 2 คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 19/2564
---------------------------------
เมื่อช้างในห้องถูกเปิดเผย
ผู้เขียน: ปิยบุตร แสงกนกกุล
สำนักพิมพ์: คณะก้าวหน้า
จำนวน: 195 หน้า ปกอ่อน
พิมพ์ พฤศจิกายน 2565
ISBN: 9786169396543