- เหตุใดเราจึงเห็นใจวีรชนผู้ต่ำต้อยอย่างโอลิเวอร์ ทวิสต์
- อะไรคือเบื้องหลังอัจฉริยภาพของเชกสเปียร์ที่เล่นกับจิตวิทยาของมนุษย์
- การวางโครงเรื่องห้าองก์ใน The Godfather ทรงประสิทธิภาพอย่างไร
- ทำไมบทสารภาพรักสุดคลาสสิกใน Notting Hill จึงติดตรึงใจคนทั่วโลก
เรื่องเล่าอยู่คู่กับมนุษย์เรามาหลายชั่วคน เราตื่นตาเมื่อฟังตำนานปรัมปรา เสพติดเรื่องซุบซิบคนดัง ตื่นเต้นกับนิยายสุดเข้มข้น หรือตื้นตันยามเห็นฉากหวานซึ้งบนจอภาพยนตร์ แต่ใครเลยจะรู้ว่าเบื้องหลังมนตร์ขลังของเรื่องเล่าอันตรึงใจนั้นมีวิทยาศาสตร์ซ่อนอยู่!
วิล สตอร์ นักเขียนและนักเล่าเรื่องมากประสบการณ์ สกัดแก่นความรู้จากหลักสูตรพัฒนาการเล่าเรื่อง ผสมผสานกับข้อค้นพบทางประสาทวิทยาศาสตร์และจิตวิทยา ก่อเกิดเป็น “ศาสตร์แห่งการเล่าเรื่อง” เพื่อสร้างสรรค์เรื่องราวที่จับใจคน พร้อมเคล็ดลับฉบับเข้าใจง่ายที่ประยุกต์ใช้ได้จริง เช่น การสร้างโลกสมมติใบใหม่ผ่านแบบจำลองในสมอง การใช้ “ช่องว่างของข้อมูล” กระตุ้นความสงสัยใคร่รู้ การสร้างตัวละครผ่านแนวคิด “ตัวเอกทุกคนคือตัวร้าย” ฯลฯ
หากโลกที่เรารับรู้คือเรื่องเล่าที่สมองปรุงแต่งให้ กุญแจสู่เรื่องเล่าที่ตรึงใจย่อมซ่อนอยู่ในกลไกสมอง ไม่ว่าคุณจะเป็นนักเขียนนิยาย บทละคร สารคดี หรือคนทำงานสื่อสารที่ต้องการเล่าเรื่องให้จับใจ นี่คือบทเรียนชั้นดีที่กลั่นกรองจากสมองนักเล่าเรื่อง เพื่อรังสรรค์เรื่องเล่าที่ร่ายมนตร์สะกดให้มนุษย์หลงใหลไม่เคยเสื่อมคลาย
----------------------
The Science of Storytelling: ศาสตร์และศิลป์แห่งการเล่าเรื่องให้ตรึงใจด้วยวิทยาศาสตร์สมอง
แปลจากหนังสือ The Science of Storytelling
ผู้เขียน Will Storr
ผู้แปล ศิริกมล ตาน้อย
สำนักพิมพ์ Bookscape
จำนวนหน้า 288 หน้า ปกอ่อน
ปีที่พิมพ์ 2566
ISBN 9786168313510