Diary of a Tuscan Bookshop : ร้านหนังสือเล็กๆ แห่งทัสคานี
“เรามีหนังสือ ‘ของเรา’ ไม่ใช่หนังสือที่คุณจะพบได้ทุกที่ มันเหมือนกับชั้นหนังสือของคุณเองที่บ้าน ไม่ว่าจะเก่าหรือเพิ่งออกใหม่ หนังสือต้องมีความหมาย มันถูกเลือกให้มาอยู่ตรงนั้นด้วยเหตุผลบาวอิตาลีที่ทำหน้าที่ ‘มดงาน’ ในธุรกิจสำนักพิมพ์มาเป็นสิบปี ได้ทำสิ่งที่ทำให้ชีวิตของตนเองยากขึ้นไปอีก ด้วยการเปิดร้านหนังสือในหมู่บ้านที่มีประชากร 180 คน!
หมู่บ้านนี้ชื่อ ลูชญาณา ตั้งอยู่บนภูเขา เป็นส่วนหนึ่งของแคว้นทัสคานีที่มีเมืองท่องเที่ยวสำคัญอย่างฟลอเรนซ์
อัลบาบอกเล่าเรื่องราวของตัวเองและร้านของเธอในรูปแบบของสมุดบันทึกที่กินระยะเวลาหกเดือน มันไม่ใช่ ‘ฮาวทู’ คู่มือที่บอกเล่าว่าการทำร้านหนังสือสักร้านเราจะต้องเจอกับอะไร เธอแค่เล่าว่าตนเองได้เจอกับอะไรมาบ้าง ร้านของเธอตั้งอยู่บนเขา ดังนั้นเหตุการณ์ทางธรรมชาติต่างๆล้วนมีผลกระทบต่อร้าน ฝนตก หิมะตก น้ำรอการระบาย ไฟไหม้ ไม่เว้นกระทั่งโควิด
เสน่ห์ของหนังสือเล่มนี้ ไม่เพียงมันเป็นหนังสือที่เล่าเรื่องของหนังสือ แต่อยู่ที่เรื่องราวของ ‘ผู้คน’ ไม่เฉพาะคุณอัลบา ที่มีส่วนทำให้เกิดร้านหนังสือแห่งนี้ พวกเขาไม่ใช่ผู้ทรงอิทธิพล ไม่ใช่ ‘คนในวงการ’ แต่เป็นบรรดาลุงป้าข้างบ้านที่ช่วยไปเม้าท์ไป เดินสวนกันตามถนนก็ยัดแบงค์ยับๆใส่มือบริจาคให้ร้าน ลูกหลานเพื่อนของเพื่อนที่ว่างๆก็มาเป็นอาสาสมัครเฝ้าร้านให้ ช่างเหล็กที่อาจไม่ได้อินกับหนังสือมากมาย แต่ทำประตูเหล็กดัดให้เป็นของขวัญวันเปิดร้าน ฯลฯ
ทั้งหมดนี้ไม่เพียงบ่งบอก ‘คาแรกเตอร์’ ของหนังสือเล่มนี้และขอางอย่าง”
ทำร้านหนังสือว่ายากแล้ว แต่อัลบา โดนาติ ผู้หญิงชงร้าน Libreria spora la Penna (ลิเบรเรีย โซปรา ลา เปนนา) แต่ยังเหมือนกับเป็นการเฉลิมฉลองจิตวิญญาณที่สูญหายของหนังสืออยู่กลายๆว่า หนังสือไม่ควรถูกจำกัดว่าจะต้องเป็นของคนกลุ่มหนึ่งกลุ่มใดโดยเฉพาะ
แต่หนังสือควรเป็นของ ‘ทุกคน’
----------
Diary of a Tuscan Bookshop : ร้านหนังสือเล็กๆ แห่งทัสคานี
จำนวนหน้า : 240 ปกอ่อน
ราคาปก : 260
อัลบา โดนาติ : เขียน
ธิดารัตน์ เจริญชัยชนะ : แปล
เฉลิมพันธุ์ ปัญจมาพิรมย์ : ออกแบบปก
Thanakorn Thongtub : ภาพประกอบปก