ในหลักการของศาสนาผีก็คือ สิ่งที่มีฤทธิ์มีอํานาจล้วนอยู่ภายนอกมนุษย์ พูดอีกอย่างหนึ่งก็คือ ฤทธิ์และอํานาจที่อาจให้คุณและให้โทษล้วนอยู่ภายนอก ทั้งสิ้น จิตวิญญาณหรือผีที่ทําให้ต้นตะเคียนมีฤทธิ์อํานาจ ไม่ได้เกิดในไม้ตะเคียนเอง แต่จรมาจากภายนอกต้นตะเคียน แล้วเข้าสิงให้ตะเคียนต้นนั้นมีอํานาจมากกว่าตะเคียนต้นอื่น
และนี่อาจเป็นเหตุผลให้เราไม่อาจเรียกศาสนาผีของไทยว่า Animism ได้ในทุกความหมายของคํานี้ เพราะเจ้าแม่ตะเคียนไม่ได้เกิตกับต้นตะเคียนเอง (มีตะเคียนอีก หลายต้นที่ไม่มีเจ้าแม่) วัตถุสิ่งของหรือสัตว์ และคนไม่ได้ มี “ผี” หรือ “จิตวิญญาณ” อยู่ในตัว อย่างที่ใช้ในความ หมายหลักของค่า Animism
พระพุทธรูปสําคัญมีความศักดิ์สิทธิ์มาก ไม่ใช่เพราะ เป็น “เจดีย์" หรือเครื่องรําลึกถึงพระพุทธเจ้า (เพราะ พระพุทธรูปส่วนใหญ่ไม่ได้ “ศักดิ์สิทธิ์” เช่นนั้น มีเพียงบางองค์เท่านั้น) แต่เพราะผี (หรือเทพ) ที่รักษาพระพุทธรูปนั้นต่างหาก การปฏิบัติต่อพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์แต่ละองค์ จึงไม่เหมือนกัน เพราะผี (หรือเทพ) ที่รักษาพระพุทธรูป เป็นผีต่างตนกัน
เมื่อคนแต่ก่อนนําเอาไข่ต้มและปลาร้าไปถวายพระแก้วมรกต เขาไม่ได้ถวายองค์พระแก้วโดยตรง แต่เพราะพระแก้วประทับอยู่ในเวียงจันทน์มานาน ผี (หรือ เทพ) ที่รักษาองค์พระแก้วจึงน่าจะเป็น “ลาว” ซึ่งชอบกิน ไข่ต้มกับปลาร้า พระพุทธรูปองค์อื่นก็ชอบอย่างอื่น เมื่อจะแก้บนก็ต้องถวายสิ่งอื่น นับตั้งแต่ละครชาตรี, ปี่พาทย์, หนังใหญ่หรือ “ภักษาหาร อื่นๆ
กราบพระกับกราบผีจึงเป็นเรื่องเดียวกัน
ส่วนหนึ่งของบทความ พุทธ-พราหมณ์-ผี หรือ ผี-พราหมณ์-พุทธ
โดย นิธิ เอียวศรีวงศ์
----------------------------------
ผี-พราหมณ์-พุทธ ในศาสนาไทย
คมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง
วิจักขณ์ พานิช
ศิริพจน์ เหล่ามานะเจริญ บรรณาธิการ
ออกแบบปก โดย ประกิต กอบกิจวัฒนา