สงครามก็คือสภาพอันน่ากลัวและโหดร้ายที่สะท้อนจากการดำเนินชีวิตของเราเอง
ชีวิตประจำวันของเรานี่แหละที่เป็นสาเหตุให้เกิดสงคราม
ถ้าเรายังไม่เปลี่ยนแปลงตัวเราเองอย่างถอนรากถอนโคน
สิ่งที่จะเกิดตามมาอย่างแน่นอนก็คือ ความเป็นปรปักษ์กันทางชนชาติและเผ่าพันธุ์
การทะเลาะเบาะแว้งกันอย่างไร้สาระในเรื่องลัทธิความเชื่อ
การเชิดชูชาติอธิปไตย การผลิตกำลังทหารเพิ่มขึ้น
และการเข่นฆ่ากันอย่างเป็นระบบซึ่งแสนจะการุณและป่าเถื่อน
การศึกษาทั่วทั้งโลกนับได้ว่าประสบความล้มเหลว
เพราะยิ่งทำให้เกิดความพินาศและความทุกข์มากขึ้น
รัฐบาลเอาแต่ฝึกเยาวชนให้เป็นทหารและเป็นผู้เชี่ยวชาญที่มีประสิทธิภาพตามที่รัฐต้องการ
ปลูกฝังและบังคับให้มีวินัยและอคติ เมื่อพิจารณาถึงข้อเท็จจริงเหล่านี้แล้ว เราต้องตั้งคำถามว่า
ชีวิตมีความหมายหรือสาระสำคัญอย่างไร และเรามีชีวิตอยู่เพื่อทำอะไร
เราต้องหาทางสร้างสภาพแวดล้อมใหม่ เพราะสภาพแวดล้อมนี้เองที่อาจทำให้เด็กกลายเป็นคนที่หยาบช้า
เป็นผู้เชี่ยวชาญที่ไม่เคยนึกถึงคนอื่น เราต้องสร้างสภาพแวดล้อมที่จะช่วยให้เด็กเติบโตขึ้น
เป็นมนุษย์ที่มีสติปัญญา มีความรู้สึกละเอียดอ่อน เราต้องสร้างโลกบาลซึ่งแตกต่างจากรัฐบาลอย่างสิ้นเชิง
เพราะไม่ใช้กำลังบังคัน ไม่ยึดมั่นในความเป็นชนชาติ ความเป็นรัฐ หรือแนวคิดใด
------------------
การศึกษาและสาระสำคัญของชีวิต (T-E) สองภาษา
ผู้เขียน กฤษณมูรติ
ผู้แปล นวลคำ จันภา
สำนักพิมพ์ มูลนิธิอันวีกษณา
จำนวน 336 หน้า ปกอ่อน
ปีที่พิมพ์ 3 มิถุนายน 2566
ISBN 9786168104125