SKU : 9786164860612
ภววิทยาแม่น้ำโขง ชวนให้ผู้อ่านหวนกลับมาทำความเข้าใจและตั้งคำถามกับการศึกษาทางสังคมศาสตร์ ทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต
หมวดหมู่ : หนังสือ ,  สังคมและวัฒนธรรม ,  การศึกษา ,  วิชาการ , 
แบรนด์ : ศยามปัญญา
Share
ภววิทยาแม่น้ำโขง : เขื่อน น้ำของ และ ผู้คน
รศ.ดร.กนกวรรณ มะโนรมย์
ภววิทยาแม่น้ำโขง (Mekong Ontology): เขื่อน น้ำของ และ ผู้คน
"กนกวรรณ มะโนรมย์" ชี้ให้เห็นถึงแนวทางในการทำความเข้าใจสัมพันธภาพของ "สภาวะ" ในการอยู่ร่วมสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ ธรรมชาติ และวัตถุที่ถูกสร้างขึ้น อันจะชวนให้ผู้อ่านหวนกลับมาทำความเข้าใจและตั้งคำถามกับการศึกษาทางสังคมศาสตร์ ทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต รวมถึงการดำรงอยู่ของมนุษย์ที่ยากจะแยกขาดกับสรรพสิ่งโดยรอบที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน
หนังสือเล่มนี้ ได้รับความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากผู้ทรงคุณวุฒิในทางมานุษยวิทยาและสังคมศาสตร์ ที่ช่วยให้เนื้อหาของหนังสือมีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น และจะเป็นหมุดหมายสำคัญอันเป็นประโยชน์ต่อการ ศึกษาและทำความเข้าใจสังคมต่อไปในอนาคต
"ภววิทยาแม่น้ำโขง" ตั้งคำถามสำคัญต่อการทำความเข้าใจพลวัตและความสัมพันธ์ที่คร่อมข้าม โลกของนิเวศ วัฒนธรรม การเมือง และเทคโนโลยีในลุ่มน้ำโขง กนกวรรณ มะโนรมย์ นักวิชาการผู้คร่ำหวอดในการศึกษาทำความเข้าใจประเด็นปัญหาในลุ่มน้ำโขงมายาวนาน ชี้ให้เห็นถึงประวัติศาสตร์ของการพัฒนาลุ่มน้ำ ภายใต้อภิมหาโครงการของ "ความเป็นสมัยใหม่" ซึ่งประกอบสร้างขึ้นจากกรรมการพัฒนา ความรู้เชิงเทคนิค นโยบายและกรอบความร่วมมือระดับภูมิภาค ระบบนิเวศผ่านโครงสร้างพื้นฐาน ตลอดจนการคัดง้างเชิงอำนาจผ่านปฏิบัติการของชาวบ้านและเครือข่ายภาคประชาสังคม
กนกวรรณเสนอให้พิจารณา "ความยากจน" ในฐานะผลผลิตของความสัมพันธ์ดังกล่าว ซึ่งเป็นภาพสะท้อนของความล้มเหลว ไม่เพียงเฉพาะนโยบายการพัฒนา การเจรจาต่อรอง และการสร้างการมีส่วนร่วมในการพัฒนาเท่านั้น หากแต่ยังเป็นความล้มเหลวของ "ความเป็นสมัยใหม่" ที่เกิดขึ้นในการเมืองระดับชีวิตประจำวัน ที่ซึ่งโลกถูกตัดแบ่งระหว่างความเป็นเทคนิค-สังคม ธรรมชาติ-วัฒนธรรม แม่น้ำ-ผืนดิน และ ความรู้-ความเชื่อ ที่ไม่เคยเกิดขึ้นจริงนั่นเอง
-[รองศาสตราจารย์ ดร. จักกริช สังขมณี]
สารบัญ
คำขอบคุณ
คำนิยม โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. อานันท์ กาญจนพันธุ์
คำนิยม โดย ศาสตราจารย์ ดร. นิติ ภวัครพันธุ์
คำนำสำนักพิมพ์
บทนำ ทำไมต้อง "ภววิทยาแม่น้ำโขง"?
บทที่ 1 มุมมอง : การซ้อนทับระหว่าง เขื่อน น้ำของ และ ผู้คน
บทที่ 2 สรรพสิ่งในแม่น้ำของ
บทที่ 3 ผู้กระทำการ กับ แม่น้ำผู้ (ไม่) ทันสมัย
บทที่ 4 "ความยากจน" จาก "การไม่เป็นสมัยใหม่" ของแม่น้ำโขง
บทที่ 5 คลี่ : "การประกอบสร้างเทคโนโลยีเขื่อนน้ำของ”
บทส่งท้าย
เอกสารอ้างอิง
ประวัติผู้เขียน
-------------------------
ภววิทยาแม่น้ำโขง (Mekong Ontology): เขื่อน น้ำของ และ ผู้คน
ผู้เขียน กนกวรรณ มะโนรมย์
จำนวน 240 หน้า (ปกอ่อน)
ขนาดรูปเล่ม 143 x 210 x 13 มม.
สำนักพิมพ์ ศยาม
ปีที่พิมพ์ 2022
ISBN 9786164860612