หากจะนับว่าการอภิวัฒน์ ๒๔๗๖ เป็นการเปลี่ยนแปลงที่ไม่นองเลือด เป็นลักษณะ "ประนีประนอมรอมชอม" ของสังคมไทยที่ทำให้เราเปลี่ยนผ่านสู่ประชาธิปไตยแบบไม่ต้องสังเวยชีวิต ผู้รู้ท่านหนึ่งบอกว่านั่นเป็นความเชื่อที่ผิด เพราะ "ฉากจริง" ของ "การอภิวัฒน์" เกิดขึ้นในปีถัดมา
หลังความพยายามประนีประนอมตลอดขวบปีล้มเหลว ปลายปี ๒๔๗๖ ส่วนหนึ่งของเครือข่ายระบอบเก่าก็ยกกำลังเจ้าปะทะระบอบใหม่ เกิดเป็นสงครามกลางเมืองครั้งแรกในยุคประชาธิปไตยหัดเดินของสยาม
สมรภูมิหลักเกิดขึ้นที่ทุ่งบางเขน ตามแนวรางรถไฟไปจนสุดขอบที่ราบสูง ผลแพ้ชนะทิ้งร่องรอยความทรงจำและมรดกทางการเมืองไว้มากมาย
ยังไม่นับ "สงครามความทรงจำ" ที่ยังคงดำเนินจนถึงปัจจุบัน เมื่อประวัติศาสตร์ "กบฏบวรเดช" ถูกนำมาตีความใหม่ภายใต้สถานการณ์วิกฤตการเมืองไทยรอบล่าสุดที่กินเวลานานเกือบ 2 ทศวรรษ
Scoop
๒๔๗๖ กบฏบวรเดช
๓ มุมมอง กรณีกบฏบวรเดช
-ปฐมาวดี วิเชียรนิตย์
-ผศ.ดร. ศรัญญู เทพสงเคราะห์
-นริศ จรัสจรรยาวงศ์
"มรดก" หลังปราบกบฏบวรเดช
Interview
คุยกับหลาน ปรีดี พนมยงค์
ดร. อนวัช ศกุนตาภัย
ศาสตราจารย์ประจำสถาบันปาสเตอร์
ผู้พัฒนาวัคซีนไข้เลือดออกชนิดใหม่
-------------------------
นิตยสารสารคดี ฉบับ 463 ตุลาคม 2566 ๒๔๗๖ กบฏบวรเดช
ราคาเล่มละ 195 บาท
ปีที่พิมพ์ 2566