SKU : 9789740218418
สำรวจประวัติศาสตร์อารมณ์ความรู้สึกนึกคิดว่าด้วย “ความซื่อสัตย์” ที่แปรเปลี่ยนไปตามบริบทของสังคมไทย
หมวดหมู่ : หนังสือ ,  ประวัติศาสตร์ ,  สังคมและวัฒนธรรม , 
แบรนด์ : Matichon Book
Share
“ความซื่อสัตย์” ในระบอบอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดของมนุษย์นั้นมิได้โดดเดี่ยวเหนือระบบความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมที่ผันแปรไปตลอดเวลา ยิ่งไปกว่านั้นคุณค่าและความหมายของ “ความซื่อสัตย์” ของประชาชนกับรัฐก็อาจไม่แนบสนิทเป็นหนึ่งเดียว
สำรวจประวัติศาสตร์อารมณ์ความรู้สึกนึกคิดว่าด้วย “ความซื่อสัตย์” ที่แปรเปลี่ยนไปตามบริบทของสังคมไทยจากยุคจารีตสู่ยุค “คนเท่ากัน” ทำความเข้าใจมิติอันหลากหลายและพร่ามัวของ “ความซื่อสัตย์” ในฐานะระบอบอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดที่ส่งอิทธิพลต่อทั้งรัฐและประชาชน เพื่อหาคำตอบร่วมกันว่า “ความซื่อสัตย์” อันมีความหมายขัดแย้งใน “สังคมคนดี” นี้ก่อรูปขึ้นมาอย่างไร และสังคมจะเดินหน้าต่อไปได้หรือไม่ภายใต้ “ความซื่อสัตย์” แบบที่รัฐปรารถนา
บทที่ 1 จริยธรรมทางสังคม: ความซื่อสัตย์/ความจงรักภักดี
บทที่ 2 “ความซื่อสัตย์” ในระบอบอารมณ์ความรู้สึกนึกคิด “จงรักภักดี” ในระบบความสัมพันธ์อุปถัมภ์ : ความสืบเนื่อง/ความเปลี่ยนแปลง
บทที่ 3 “ความซื่อสัตย์” ความหมายที่ถูกลดทอน/ ทำให้มีหลายนัย ในระบอบอารมณ์ ความรู้สึกนึกคิดร่วมสมัย
บทสรุป : หวนคิดคำนึงถึงการประกอบสร้าง “จริยธรรมทางสังคม” ใหม่
---------
ด้วยรัฐและสัตย์จริง ระบอบอารมณ์ความรู้สึกนึกคิด จริยธรรมแห่งรัฐ และความซื่อสัตย์ที่ผันแปร
ผู้เขียน อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์
จำนวน 152 หน้า
ปีที่พิมพ์ 2566
สำนักพิมพ์มติชน
ราคา 195 บาท
ISBN 9789740218418