สิเจ้าหัวเราะกับความขื่น แล้วมิไยชื่นหวานกับความจริง / วาด รวี / สมมติ

คุณสมบัติสินค้า:

SKU : 9786165620635

แลกเปลี่ยน และวิพากษ์วิจารณ์ได้ เพื่อให้พื้นที่อันคับแคบของ 'วรรณกรรม' นั้น ได้ขยายอาณาเขตของมันเองออกไป

แบรนด์ : สมมติ

Share

ในสังคมปัจจุบัน หรืออาจเหมารวมย้อนไปในอดีตและก้าวข้ามไปในอนาคต อาจไม่มีความจำเป็นใดที่ 'นักอ่าน' สักคนต้องอ่านหนังสือวิพากษ์วิจารณ์วรรณกรรม

แต่อย่างไรก็ดี หาก 'การอ่าน' ของคนคนหนึ่ง สิ่งที่เขาพึงปรารถนาจาก 'วรรณกรรม' สักเล่ม มีมากกว่าความบันเทิงพื้นฐาน โดยมุ่งหวังไปถึงแง่คิด มุมมอง นัยซ่อนเร้น ความจริง-ความลวง ตลอดจนคุณค่าและความหมายของ 'เรื่องแต่งนั้นๆ' การได้รู้จักกับกรอบคิดและวิธีมอง 'เรื่อง' เหล่านั้น ย่อมน่าศึกษาและติดตาม หนังสือประเภท 'วิพากษ์วิจารณ์วรรณกรรม' จึงนับเป็นกรอบกว้างๆ ให้เราได้เรียนรู้

โดยในอดีตที่ผ่านมา บทวิพากษ์-วิจารณ์ ทำนองดังกล่าวอาจมีปรากฏอยู่ไม่กว้างขวาง กล่าวคือ มักจะเจาะจงไว้ในพื้นที่ประเภท 'นิตยสาร-วารสารวรรณกรรม' และโดยการวิพากษ์วิจารณ์นั้นก็กลายเป็นหน้าที่ของ 'นักวิจารณ์' และยิ่งกว่านั้นคือการผลักให้การวิพากษ์-วิจารณ์-พูดถึงอย่างเข้มข้น ไปอยู่ในชั้นเรียนของเหล่านักเรียนวรรณกรรมเพียงเท่านั้น

ซึ่งในหนังสือ▪️สิเจ้าหัวเราะกับความขื่น แล้วมิไยชื่นหวานกับความจริง▪️วาด รวี เองเข้าใจและเห็นว่า การผิดที่ผิดทางข้างต้น ต้องถูกชำระความเข้าใจใหม่ เพราะการอ่านและพูดถึงสิ่งที่อ่านอย่างจริงใจนั้น เป็นเรื่องของคนทุกคน

"...การวิจารณ์วรรณกรรมไทย คือภาคส่วนที่ตกต่ำและด้อยพัฒนาที่สุดของวงวรรณกรรม เป็นพื้นที่รกร้างที่ไร้ความเคลื่อนไหวทางปัญญา ไร้เรี่ยวแรงและขาดแคลนพลังทางปัญญาอย่างที่สุด สาเหตุหนึ่งมาจากความคิดความเชื่อของวงวรรณกรรมเองว่า การวิจารณ์เป็นเรื่องของ ‘นักวิจารณ์’ ไม่ใช่เรื่องของใครอื่น โดยเฉพาะนักเขียน การแยก ‘การวิจารณ์’ ออกจาก ‘นักเขียน’ เป็นสิ่งที่ผิดธรรมชาติ ของทั้งกระบวนการพัฒนาวรรณกรรมและกระบวนการทางปัญญา ไม่มีเหตุผลแม้แต่น้อยว่า ทำไมการวิจารณ์วรรณกรรมจึงต้องตกเป็นภาระหรือเป็นกิจกรรมของ ‘นักวิจารณ์’ เท่านั้น เพราะแท้จริงแล้วนักวิจารณ์เป็นสิ่งที่ไม่มีตัวตน หากแต่เป็นการอุปโลกน์กันขึ้นมาของวงวรรณกรรมเอง..." ⏤ วาด รวี

สิเจ้าหัวเราะกับความขื่น แล้วมิไยชื่นหวานกับความจริง

หนังสือรวมบทวิพากษ์วิจารณ์วรรณกรรมสุดเข้มข้น ตีแตกในทุกประเด็น และนำเสนอในทุกมุมมองที่ชวนพูดคุย แลกเปลี่ยน และวิพากษ์วิจารณ์ได้ เพื่อให้พื้นที่อันคับแคบของ 'วรรณกรรม' นั้น ได้ขยายอาณาเขตของมันเองออกไป แม้เพียงไม่กี่มิลลิเมตร ก็นับว่าน่าลองกันสักตั้ง!

ไม่ว่าการตีพิมพ์หนังสือประเภทนี้ จะห่างไกลจากคำว่า 'ขายได้' (ไม่ต้องไปมองถึงขั้น 'ขายดี') แต่ชื่อผู้เขียนคือ วาด รวี ความเข้มข้น เอาจริงเอาจัง ก็นับเป็นเครื่องการันตีอยู่แล้วว่า 'ต้องทำ'!!!

หนังสือเล่มนี้เหมาะสำหรับนักอ่านอยู่ 2 กลุ่มใหญ่ๆ

- กลุ่มแรกคือ นักอ่านที่ต้องการเพื่อนคุยหลังอ่าน เพื่อถกหาประเด็นบางอย่างที่ติดค้างอยู่ในใจ (คล้ายๆ กับคนที่ออกจากโรงหนังแล้วกลับบ้านมาเปิดคลิป ‘คุยกันหลังดูจบ‘ ที่บ้าน พร้อมขึ้นตัวหนังสือใหญ่ๆ ว่า ’ระวังสปอย‘ )

- กลุ่มสองคือ นักอ่านที่ไม่รู้จะอ่านอะไรดี เพราะหนังสือเล่มนี้จะทำให้คุณอยากพับหน้ากระดาษไว้ก่อน และกระโจนออกไปค้นหาหนังสือที่ถูกพูดถึงเสียตอนนี้ เหมือนโจรสลัดกระหายสมบัติ

- หรืออีกกลุ่มหนึ่งที่ไม่ได้จัดไว้ในหมวด ‘หนังสือที่เหมาะสำหรับ‘ ก็คือ กลุ่มผู้ที่มีปัญหาในการวิพากษ์วิจารณ์

--------

สิเจ้าหัวเราะกับความขื่น แล้วมิไยชื่นหวานกับความจริง
(รวมบทวิพากษ์วิจารณ์วรรณกรรมเล่มแรกและเล่มเดียวของ วาด รวี)
วาด รวี เขียน
ปิยะวิทย์ เทพอำนวยสกุล บรรณาธิการสำนักพิมพ์
เอกสิทธิ์ เทียมธรรม บรรณาธิการเล่ม
DESIGN สมมติ STUDIO จิรวัฒน์ รอดอิ่ม
ฉบับพิมพ์ครั้งแรก มีนาคม 2567
จำนวน 328 หน้า
ราคา 350 บาท
ISBN  9786165620635

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้