- ทำไมคนเราถึงจั๊กจี้ตัวเองไม่ได้?
- มนุษย์ใช้กลไกสมองส่วนใดในการอ่านใจผู้อื่น?
- เหตุใดบางคนจึงมองเห็นสีสันเมื่ออ่านข้อความหรือฟังคำพูด?
- การกระทำของเราเกิดจากเจตนารมณ์อิสระจริงหรือ?
ในอดีตสมองเคยเปรียบเสมือน "กล่องดำ" ที่ซุกซ่อนความลับแห่งจิตใจอันซับซ้อนของมนุษย์ ริชาร์ด พาสซิงแฮม ศาสตราจารย์ด้านประสาทวิทยาศาสตร์การรู้คิดแห่งออกซฟอร์ด จะพาเราไขปริศนาเบื้องหลังกล่องดำพิศวง ผ่านศาสตร์แขนงใหม่น่าตื่นตาซึ่งผนวกเอา “จิตวิทยา” กับ “ประสาทวิทยาศาสตร์” เข้าด้วยกัน ฉายภาพกลไกการทำงานของสมองมนุษย์เมื่อเราขบคิด รับรู้ จดจำ ใช้เหตุผล หรือตัดสินใจ ผ่านการทดลองเชิงจิตวิทยา เทคโนโลยีภาพถ่ายสมอง คำถามเชิงปรัชญา ตลอดจนเคสผู้ป่วยจริงอันน่าเหลือเชื่อ อาทิ ผู้ป่วยสโตรกที่มองไม่เห็นโลกฝั่งซ้ายอีกเลย ผู้ป่วยแขนขาดที่ยังรู้สึกว่ามีแขนอยู่ หรือผู้ป่วยโรคสมองที่ไม่อาจรับรู้จิตสำนึกทางศีลธรรม
ประสาทวิทยาศาสตร์การรู้คิด: ความรู้ฉบับพกพา คือจุดเริ่มต้นชั้นดีที่จะช่วยให้คุณ "รู้" ถึงกลไกอัศจรรย์ของสมอง และ “คิด” ต่อยอดได้สนุกกว่าที่เคย เพราะสมองคือเครื่องมือทรงศักยภาพที่อยู่เบื้องหลังวิวัฒนาการและทุกการรู้คิดของมนุษย์ ไม่เว้นแม้แต่การไขปริศนาในสมองของเราเอง
------
ประสาทวิทยาศาสตร์การรู้คิด: ความรู้ฉบับพกพา
(Cognitive Neuroscience: A Very Short Introduction)
Richard Passingham เขียน
ชัยภัทร ชุณหรัศมิ์ แปล
จำนวน 208 หน้า (ขนาด 118 x 185 มม.)
ราคา 295 บาท
ISBN 9786168355091