เหมือนเป็นที่เข้าใจกันแบบเหมารวมว่าคนภาคอีสานล้วนเป็นลาว หรือไทลาว แต่ตามความจริงพื้นที่อีสานเป็นถิ่นฐานของคนนับสิบชาติพันธุ์
ด้วยรูปพรรณ ผิว ผม เสื้อผ้า อาหาร ประเพณี และวิถีชีวิตใกล้เคียงกัน ทำให้ยากจะแยกแยะได้จากเกณฑ์ทางกายภาพ
และโดยการนิยามความหมายของ “ชาติพันธุ์” ว่าเป็นกลุ่มคนร่วมวัฒนธรรมที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษทางสายเลือดหรือบรรพบุรุษทางวัฒนธรรมเดียวกัน ชาติพันธุ์จึงไม่ใช่แค่สิ่งที่เกิดตาม
ธรรมชาติหรือเพียงร่วมสายเลือด แต่ยังเป็นกระบวนการหล่อหลอมของวิถีการดำเนินชีวิตในสิ่งแวดล้อมหนึ่งๆ
การบ่งชี้ชาติพันธุ์จึงยากที่จะดูจากเพียง
รูปกายภายนอกและเครื่องนุ่งห่ม
ที่ได้รับการยอมรับในวงกว้าง
มากกว่าคือแบ่งด้วยเกณฑ์
ทางภาษา ซึ่งสารคดีฉบับ “ชาติพันธุ์อีสาน หลากกลุ่มชนบนที่ราบสูง”
ได้เลือกกลุ่มชนเจ็ดกลุ่มที่มีอัตลักษณ์
ของตนชัดเจนมานำเสนอ
เพื่อรู้จัก “อีสาน” ในมิติ “ชาติพันธุ์”
------
นิตยสารสารคดี ฉบับ 475 ตุลาคม 2567 "ชาติพันธุ์อีสาน หลากกลุ่มชนบนที่ราบสูง"
ราคา 195 บาท