SKU :
นักเขียนงานร่วมสมัยชาวเยอรมัน-สวิส กับเรื่องเล่าไม่ธรรมดา หนังสือที่หลายคนถามถึง
เพเตอร์ บิคเซล
หมวดหมู่ : หนังสือ ,  นวนิยาย ,  วรรณกรรมแปล , 
Share
รวมเรื่องสั้น
+ โต๊ะก็คือโต๊ะ
+ มิสซิสบลูมก็อยากรู้จักคนส่งนม
รวมบทความ
+ เรื่องเล่าผิดเวลา
+ ณ กรุงปารีส (พิมพ์เป็นภาษาไทยเป็นครั้งแรก)
งานเขียนที่มีแนวคิด เนื้อหา และกลวิธีการเล่าที่แหวกแนว กระชับ เฉียบขาด ทำให้หนังสือของเพเตอร์ บิคเซล มีแฟนหนังสือชาวไทยติดตามอย่างเหนียวแน่น กลับมาเป็นเซ็ตครั้งนี้ ดีไซน์ของหนังสือชุดนี้ยังตั้งใจจัดทำมาเป็นพิเศษ ปกเจียนมุมมนหนึ่งด้าน เนื้อในมีรูปประกอบทุกเรื่อง แต่ละเล่มมีสีประจำเล่ม
--
เรื่องเด็กๆ: โต๊ะก็คือโต๊ะ
Kindergeschichten
(รวมเรื่องสั้นแปล)
ISBN: 978-616-563-012-2
รวมเรื่องสั้นที่นักอ่านถามถึงกันอยู่เสมอ
7 เรื่องเล่าเกี่ยวกับคนตัวเล็กๆ ผู้เกิดความคิดว่าจะไม่เชื่อในสิ่งที่คนอื่นมองว่าเป็นเรื่องปกติ งานอ่านสนุก สั้นกระชับ และคมคาย
...ดูเหมือนบิคเซลจะมองโลกใบนี้เป็นโลกที่เหมาะสมสำหรับคนที่พร้อมยอมรับสิ่งต่างๆ ที่เป็นอยู่โดยไม่ไต่ถาม อาจเปรียบโลกในความเป็นจริงเหมือนโลกของผู้ใหญ่ ขบถทั้งหลายก็คือเด็กที่ชอบซักไซ้ไล่เลียง จนบ่อยครั้งเล่นเอาผู้ใหญ่จนมุม พอตอบไม่ได้ก็พานโมโห โดยลืมไปว่าตัวเองก็เคยเป็นเด็กมาก่อนเหมือนกัน ตัวละครในเล่มนี้ก็มีนิสัยชอบตั้งคำถามแบบ ‘เด็กๆ’ เช่นนี้
บางทีการเป็นผู้ใหญ่อาจหมายถึง
การมีชีวิตอยู่กับคำตอบต่างๆ
ที่มีอยู่โดยไม่ตั้งคำถาม
มีคำตอบโดยไม่ต้องมีคำถาม
คนที่ชอบถามคือศัตรูของคำตอบที่มีอยู่
----
เรื่องของเรื่อง: มิสซิสบลูมก็อยากรู้จักคนส่งนม
Eigentlich möchte Frau Blum den Milchmann kennenlernen 21 Geschichten
(รวมเรื่องสั้นแปล)
ISBN: 978-616-563-013-9
เรื่องเล่า 21 เรื่อง งานเขียนเล่มแรกที่สร้างชื่อเสียงให้เพเตอร์ บิคเซล
งานที่สะท้อนท่าทีและมุมมองที่เขามีต่อโลกและศิลปะอย่างชัดเจน
คนที่สนใจใคร่รู้จักนักเล่าเรื่องที่ชื่อเพเตอร์ บิคเซล ให้ลึกซึ้งขึ้น จึงไม่ควรมองข้ามหนังสือเล่มนี้
เรื่องราวความสัมพันธ์รูปแบบต่างๆ ในสังคม บทเพลงเศร้าที่บอกเล่าชีวิตกับความฝันที่ผู้คนทำหล่นหายตามริมขอบทางเดินของชีวิต บทเพลงเหล่านี้มิได้มีน้ำเสียงตัดพ้อ ไร้ซึ่งการเสียดสีวิพากษ์ แต่เต็มไปด้วยความเห็นอกเห็นใจ ความเข้าใจว่าชีวิตมนุษย์ แท้จริงแล้วเต็มไปด้วยเรื่องน่าเศร้า
เรื่องน่าเศร้าเกิดขึ้นเมื่อมีเหตุปัจจัยที่ทำให้คนเราจำต้องทอดทิ้งความฝันและความปรารถนาของตน และหันมายอมรับว่าโลกก็เป็นอย่างที่มันเป็น
---
วรรณกรรมใช้สอย: เรื่องเล่าผิดเวลา
Geschichten zur falschen Zeit
(รวมบทความแปล)
ISBN: 978-616-563-014-6
27 เรื่องราว จากข้อเขียนในคอลัมน์ต่างๆ โดยนักเขียนงานวรรณกรรม
เรื่องที่ดูเผินๆ คล้ายเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่เมื่อเพ่งพิจอย่างจริงจังแล้วกับซ่อนซุกปัญหาใหญ่โตเอาไว้ ในช่วงเวลาเฉพาะกาล
“สำหรับผมแล้วการเขียนคอลัมน์เป็นรูปแบบวรรณกรรมที่น่าสนใจ เพราะในฐานะคนเขียนผมต้องพยายามสื่อสารทำความเข้าใจกับคนอ่าน คนอ่านที่ไม่ได้จงใจเลือกอ่านงานเขียนของผม แต่เป็นคนอ่านหนังสือพิมพ์ฉบับใดฉบับหนึ่งที่บังเอิญเปิดหนังสือพิมพ์มาเห็นข้อเขียนของผมเข้า แล้วก็เลยอ่าน แล้วส่วนใหญ่พออ่านแล้วก็คงตกใจกับข้อเขียนของผม คนเขียนที่ทำหน้าที่เป็นนักหนังสือพิมพ์ในที่นี้ส่วนใหญ่แล้วเป็นนักเขียนที่มาจากสายวรรณกรรม พูดง่ายๆ ก็คือ มาจากโลกที่คนอ่านหนังสือพิมพ์ไม่รู้จัก – ผมชอบไอ้ความรู้สึกอันนี้” -- เพเตอร์ บิคเซล
---
เล่าเรื่องเรื่องเล่า: ณ กรุงปารีส
Zur Stadt Paris
(รวมบทความแปล)
ISBN: 978-616-563-015-3
(จัดพิมพ์เป็นภาษาไทยครั้งแรก)
48 เรื่องเล่าสั้นๆ (หลายเรื่องแสนสั้น) ที่กลั่นกรองจนเหลือเพียงแก่นแกน
วรรณกรรมที่พูดถึงวรรณกรรม ผ่านการตั้งคำถามว่า 'เรื่อง' คืออะไร
ขอเชิญนักอ่านมาจับตามองความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบกับเนื้อหา
มาเฝ้าดูการก่อตัวขึ้นของเรื่อง
มาลองตอบคำถามว่า 'นี่ใช่เรื่องสักเรื่องหนึ่งไหม'
เพราะเรื่องจะเป็นเรื่องหรือไม่ นอกจากการจัดวางจากผู้เขียน
เรื่องจะเป็นเรื่องหรือไม่ ยังขึ้นอยู่กับการเสพรับของผู้อ่านด้วย
--
ผู้เขียน Peter Bichsel
เพเตอร์ บิคเซล เกิดเมื่อปี ค.ศ.1935 ที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
เคยเป็นครูโรงเรียนประถม เป็นคอลัมนิสต์ ก่อนจะผันตัวมาเป็นนักเขียนอาชีพอย่างเต็มตัว บิคเซลเคยเคลื่อนไหวกับกลุ่มศิลปิน Dada และได้รับรางวัลทางวรรณกรรมมา 8 รางวัล
ปัจจุบัน บิคเซลไม่ได้เขียนงานใดๆ ออกมาอีกแล้ว และใช้ชีวิตอยู่ที่เมืองเล็กๆ แห่งหนึ่งในประเทศสวิตเซอร์แลนด์
--
ผู้แปล ชลิต ดุรงค์พันธุ์
เป็นคนฝั่งธน จบปริญญาตรีที่กรุงเทพฯ
ปริญญาโทและปริญญาเอกสาขาวรรณคดีเยอรมันที่ประเทศเยอรมนี
ปัจจุบันใช้ชีวิตอยู่ที่ประเทศเยอรมนี