SKU : 9786167667492
โฉมหน้าราชาชาตินิยม คือการรวมบทความว่าด้วยประวัติศาสตร์ของธงชัย วินิจจะกูล ที่มีประเด็นแวดล้อมแนวคิดเรื่องราชาชาตินิยมเก่า/ใหม่
หมวดหมู่ : หนังสือ ,  ประวัติศาสตร์ ,  การเมือง ,  วิชาการ , 
แบรนด์ : ฟ้าเดียวกัน
Share
"ไม่น่าเชื่อว่าประวัติศาสตร์แบบราชาชาตินิยมซึ่งมีโครงเรื่องง่ายๆ เช่นนี้ได้กลายเป็นอุดมการณ์ครอบงำประวัติศาสตร์ไทยมานานข้ามศตวรรษ นับจากการก่อเกิดในยุคสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ข้ามสู่การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 แม้แต่คณะราษฎรที่ล้มระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ก็ไม่เคยคิดที่จะล้มความคิดความเชื่อดังกล่าว ซ้ำยังรับเรื่องเล่าว่าด้วยการเสียดินแดน ร.ศ. 112 มาขยายต่อ จนมีการเดินขบวนเรียกร้องดินแดนเมื่อ พ.ศ. 2483 กระทั่งวาทกรรมการปฏิรูปการปกครองในสมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งอำพรางการผนวกดินแดนประเทศราชเข้าเป็นรัฐเดี่ยวสมัยใหม่ที่มีเขตแดนชัดเจน ก็ได้รับการยกย่องจากบรรดาผู้นำคณะราษฎร
"ครั้นเมื่อคณะราษฎรล่มสลายลงหลังรัฐประหาร 2490 ระบอบเผด็จการทหารเข้ามามีบทบาทสำคัญในการสร้างเสริมฟื้นฟูสถาบันพระมหากษัตริย์โดยเฉพาะด้านบารมีหรืออำนาจเชิงศีลธรรม เมื่อประกอบกับบริบทระดับโลก ยุทธศาสตร์การต่อสู้กับลัทธิคอมมิวนิสม์ของสหรัฐอเมริกาซึ่งเน้นชาติ ศาสน์ กษัตริย์ กลายเป็นว่าเมื่อรัฐบาลทหารถูกโค่นล้มโดยการลุกฮือของประชาชนในเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 สถาบันกษัตริย์กลับสามารถใช้วิกฤตการณ์นั้นแสดงบทบาทเป็นผู้ไกล่เกลี่ยความขัดแย้ง ปรับตัวเป็นราชาชาตินิยมใหม่ที่ทั้งเป็นประชาธิปไตยและรับใช้ประชาชนดังที่ธงชัยได้ ชี้ให้เห็นในหลายบทความ อย่างไรก็ดี เราไม่ควรลืมว่าในยุคนั้นเองก็เกิดกระแสต่อต้านประวัติศาสตร์แบบราชาชาตินิยมจากคอมมิวนิสต์ไทย แต่ก็เป็นกระแสใต้ดินมาตลอดและหมดพลังลงภายหลังการล่มสลายของ พคท. และโลกสังคมนิยมระดับสากล ในทศวรรษ 1980 หลังจากนั้นประวัติศาสตร์ไทยแบบราชาชาตินิยมใหม่เติบโตงอกงามในสังคมไทย จนกระทั่งได้รับการเชิดชูสูงส่ง"
--
สารบัญ
ภาค 1 ประวัติศาสตร์ไทยแบบราชาชาตินิยม
บทที่ 1 ประวัติศาสตร์ไทยแบบราชาชาตินิยม : จากยุคอาณานิคมอำพรางสู่ราชาชาตินิยมใหม่หรือลัทธิเสด็จพ่อของกระฎุมพีไทยในปัจจุบัน
บทที่ 2 สภาวะอาณานิคมของสยามและกำเนิดประวัติศาสตร์ชาติไทย
บทที่ 3 ประวัติศาสตร์การสร้าง “ตัวตน”
บทที่ 4 การได้ดินแดนกับความทรงจำอำพราง
บทที่ 5 “เสียดินแดน” เป็นประวัติศาสตร์หลอกไพร่ไปตายแทน(เพราะ “ไทย” ไม่เคยเสียดินแดน)
บทที่ 6ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นของชาติไทยกับประวัติศาสตร์ท้องถิ่น (เฉยๆ)
ภาค 2 ไทยศึกษาแบบราชาชาตินิยม
บทที่ 7 ความรู้เกี่ยวกับตัวตนของไทยภายใต้โลกคับแคบแบบเจ้ากรุงเทพฯ
ภาคผนวก
ภาคผนวก 1 วิพากษ์ ศาสตราจารย์ ดร. ธงชัย วินิจจะกูล : “ประวัติศาสตร์ไทยแบบราชาชาตินิยม จากยุคราชาชาตินิยมอำพรางสู่ราชาชาตินิยมใหม่หรือลัทธิเสด็จพ่อของกระฎุมพีไทยในปัจจุบัน” โดย สายชล สัตยานุรักษ์
ภาคผนวก 2 อย่าดูเบาวิธีวิทยา : ตอบอาจารย์สายชล