#ทศวรรษที่หายไป วิกฤตการเมืองไทย ๒๕๔๙-๒๕๖๔
สําหรับคนที่ผ่านวันรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 มา อาจรู้สึกว่าเวลาผ่านไป ราวติดปีก ชั่วพริบตาเราเดินทางมาถึงปี ๒๕๖๔ ครบ ๑๕ ปีของเหตุการณ์แล้ว
.
สิบห้าปีคือช่วงเวลาที่ทารกเติบโตเป็นวัยรุ่น เรียนระดับมัธยมฯ ต้น กําลังจะเข้าสู่ ชั้นมัธยมฯ ปลาย . พวกเขาหลายคนคงสงสัยว่า ตั้งแต่จําความได้ การเมืองไทยร้อนแรงและขัดแย้งกันตลอดเวลา จนอาจจับต้นชนปลายไม่ถูกว่า ตกลงแล้ว “จุดเริ่มต้นของวิกฤตการณ์” อยู่ตรงไหน และมันจะจบเมื่อใด ขณะที่วิกฤตระดับโลก เทคโนโลยีดิสรัปชัน การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โรคอุบัติใหม่ เข้าซํ้าเติมอย่างไม่ปรานีปราศรัย
.
สารคดี ไล่ทวนย้อนเวลา 1 ทศวรรษ กับอีกครึ่งทศวรรษที่สูญหาย
กลับไปค้นหาว่าเกิดอะไรขึ้นกับประเทศนี้ และอนาคตของเด็กวัยรุ่นคนนั้นจะเป็นเช่นไร
.
แถลงการณ์รัฐประหาร
#ทศวรรษที่หายไปวิกฤตการเมืองไทย ’๔๙-’๖๔
หลายชีวิตในวิกฤตการเมืองไทย
#สัมภาษณ์
พิภพ ธงไชย
ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ
สุเทพ เทือกสุบรรณ
พันธ์ศักดิ์ ศรีเทพ
พะเยาว์ อัคฮาด
นายแพทย์สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี, จาตุรนต์ ฉายแสง
ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ
พรรณิการ์ วานิช
สมบัติ บุญงามอนงค์
อานนท์ นำภา
วาดดาว-ชุมาพร แต่งเกลี้ยง
ตูน-ชนกนันท์ รวมทรัพย์
เพนกวิน-พริษฐ์ ชิวารักษ์
บอส-ภาณุพงศ์ สุวรรณหงษ์, นิ้ง-ธญานี เจริญกูล
สามเณรสหรัฐ สุขคำหล้า(เณรโฟล์ค)
ทนายแอน
ยิ่งชีพ อัชฌานนท์
สนธิญาณ ชื่นฤทัยในธรรม
เมฆินทร์ เพ็ชรพลาย
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. กนกรัตน์ เลิศชูสกุล
ศาสตราจารย์ ดร. ไชยันต์ ไชยพร
รองศาสตราจารย์ ดร. ประจักษ์ ก้องกีรติ
.
สัญลักษณ์ เพลงดนตรี และ “ของที่ระลึก” แนวปะทะทางวัฒนธรรม ใน “ม็อบ”
ภาพปก : เพชรลัดดา แก้วจีน
.
นิตยสารสารคดี ฉบับที่ 438 กันยายน 2564
#ทศวรรษที่หายไป
๒๕๔๙-๒๕๖๔ ๑๕ ปีวิกฤตการเมืองไทย
ราคาเล่มละ 180 บาท