คุณเป็นคนยากจนไหม แล้วคุณเคย 'รู้สึก' ว่าตัวเองจนหรือเปล่า
ทุกวันนี้เราอยู่ในโลกแห่งความเหลื่อมล้ำ โลกที่คนต่างชนชั้นอยู่คนละขั้นของ 'บันไดสถานะ' ทว่าความเหลื่อมล้ำมิใช่แค่ความแตกต่างทางการเงินระหว่างคนรวยกับคนจน แต่ลงลึกถึง 'ความรู้สึกจน' เมื่อเปรียบเทียบตัวเองกับคนอื่น และในโลกที่บันไดสูงเยี่ยงตึกระฟ้า ช่องว่างระหว่างชนชั้นจึงถ่างกว้าง และแม้แต่ชนชั้นกลางก็รู้สึกว่าไร้หนทางตะกายขึ้นไป
'เมื่อบันไดหัก: มองสังคมเหลื่อมล้ำผ่านแว่นจิตวิทยา' จะพาไปกะเทาะเปลือกความเหลื่อมล้ำที่ไม่่ใช่เพียงปัญหาเศรษฐกิจ แต่หยั่งรากลึกในชีวิต ความคิด ค่านิยม ไปจนถึงระบบภูมิคุ้มกันและอุดมการณ์ทางการเมือง พร้อมงานวิจัยอ่านสนุกมากมายที่จะทลายอคติและมายาคติเกี่ยวกับความจน และตอบคำถามว่าทำไมความรู้สึกว่ายากจนจึงทำให้เราอายุสั้นลงได้ ความเหลื่อมล้ำลดประสิทธิภาพในการทำงานได้อย่างไร เหตุใดสังคมเหลื่อมล้ำจึงมีผู้งมงายในศาสนามากกว่า และอะไรคือรากฐานของความคิดแบบ 'ไม่มีอะไรจะเสีย'
เมื่อ 'ความรู้สึกว่ายากจน' สำคัญและส่งผลพอๆ กับ 'ความยากจน' การแก้ไขปัญหาความยากจนจึงเป็นเพียงศึกแค่ครึ่งเดียว ร่วมกันค้นหาวิธีเพิ่มภูมิต้านทานให้เราใช้ชีวิตในสังคมแนวตั้งได้อย่างแข็งแรง พร้อมลดความเหลื่อมล้ำด้วยการสร้างบันไดที่เท่าเทียม เพื่อไม่ให้ใครต้องร่วงหล่นในโลกที่บันไดหักอีกต่อไป
----------------------
เมื่อบันไดหัก: มองสังคมเหลื่อมล้ำผ่านแว่นจิตวิทยา: The Broken Ladder: How Inequality Affects the Way We Think, Live, and Die
ผู้เขียน: Keith Payne
ผู้แปล: วิทย์ วิชัยดิษฐ
สำนักพิมพ์: bookscape
จำนวน: 280 หน้า ปกอ่อน
พิมพ์ครั้งที่ 1 มีนาคม 2565