การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล General Data protection regulation (GDPR) ฉบับภาษาไทย
นำเสนอข้อกำหนดทั่วไปว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูล (General Data Protection Regulation: GDPR) มาตรฐานสากลคุ้มครองความเป็นส่วนตัวและข้อมูลส่วนบุคคลของประชาชนในกลุ่มประเทศ EU (European Union) อันเป็นประโยชน์ต่อการสร้างความตระหนักรู้สาธารณะในเรื่องความขัดแย้ง และการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในประเทศไทย อธิบายบทบัญญัติทั่วไป หลักการ และสิทธิของผู้ถูกประมวลผลข้อมูล กล่าวถึงหน้าที่ ความปลอดภัย และจรรยาบรรณของควบคุมและประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล และการเคลื่อนย้ายข้อมูลส่วนบุคคลไปยังประเทศที่สามหรือองค์การระหว่างประเทศ พิจารณาอำนาจหน้าที่ และภารกิจของหน่วยงานกำกับดูแลอิสระในการบังคับใช้ข้อกำหนด ครอบคลุมความร่วมมือของหน่วยงานกำกับดูแล และการใช้กลไกความเป็นมาตรฐานเดียว รวมถึงการเยียวยา ความรับผิดและการลงโทษ
Description แปลและเรียบเรียงจาก Regulation (EU) 2016/679 of the European Parliament and of the Council of 27 April 2016 on the protection of natural persons with regard to the processing of personal data and on the free movement of such data, and repealing Directive 95/46/EC (General Data Protection Regulation)
Description-Table Of Contents
- ข้อกำหนด (ของสหภาพยุโรป) 2016/679 แห่งสภายุโรป และที่ประชุมยุโรป ลงวันที่ 27 เมษายน 2016
- บรรพ 1 บทบัญญัติทั่วไป
- บรรพ 2 หลักการ
- บรรพ 3 สิทธิของผู้ถูกประมวลผลข้อมูล
- บรรพ 4 ผู้ควบคุมและผู้ประมวลผล
- บรรพ 5 การเคลื่อนย้ายข้อมูลส่วนบุคคลไปยังประเทศที่สาม หรือองค์การระหว่างประเทศ
- บรรพ 6 หน่วยงานกำกับดูแลอิสระ
- บรรพ 7 ความร่วมมือและความเป็นมาตรฐานเดียว
- บรรพ 8 การเยียวยาความรับผิดและโทษ
- บรรพ 9 บทบัญญัติเกี่ยวกับสถานการณ์ประมวลผลเฉพาะ
- บรรพ 10 บทบัญญัติมอบอำนาจและบทบัญญัติวิธีปฏิบัติ
- บรรพ 11 บทบัญญัติส่วนสุดท้าย
----------------
Title-Alternative General Data Protection Regulation ฉบับภาษาไทย
Contributors นคร เสรีรักษ์ / ณรงค์ ใจหาญ / ประสิทธิ์ ปิวาวัฒนพานิช / ศุภเกียรติ ศุภศักดิ์ศึกษากร / นิชานันท์ นันทศิริศรณ์
Publisher Privacy Thailand
Date 2019
Type Text
Format-Extent 255 หน้า
ISBN 9786165657549