"แม่มด" ในภาษาอีสานไม่ใช่หญิงหมอผี ไม่ใช่หญิงแก่ใจร้ายขี่ไม้กวาดอย่างในนิทานฝรั่ง แต่เป็นผู้หญิงพื้นบ้านทั่วไปในทุกสถานะทางสังคม อาชีพ และวัย ที่สามารถสื่อสารกับผีบรรพบุรุษที่อยู่ต่างภพผ่านการเข้าทรง
ในอีสานใต้คำนี้มาจากมะม็วต หรือเมม็วต ในภาษาเขมร เม แปลว่าแม่ ม็วตหรือมดสันนิษฐานว่ามาจากมะตะ ที่แปลว่านตายหรือผี มะม็วตที่คนไทยเลือนเสียงเป็นแม่มด จึงหมายถึงหญิงที่เป็นผู้สื่อสารระหว่างคนกับผี
และ "ผี" คำนี้เป็นคนละความหมายกับผีในภาษากลาง และไม่ใช่ "วิญญาณ" แต่เป็น "ขวัญ" ที่เชื่อกันว่าเมื่อคนตาย ขวัญยังอยู่ในอีกมิติหนึ่ง มองไม่เห็นจับต้องไม่ได้ แต่ยังเกี่ยวโยงผูกพันอยู่กับครอบครัวและสามารถดลบันดาลให้เกิดเหตุการณ์ดี-ร้าย
ชวนมาสำรวจพื้นที่พหุสัญลักษ์ทางความเชื่อในอีสานและล้านนา ซึ่งผี พุทธอยู่ร่วมอย่างกลมกลืน
- คน/ผี/มด
- รำแม่มด ศาสนาผีอีสานใต้
- คุยกับแม่มด
- แกลมอ-แกลออ รำผีฟ้าชาวกวย
- ผีพื้นบ้าน หลากมิติในภาพยนตร์ไทย
- บันทึกวันผีลง ไหวผีล้านนา
--------------------------
นิตยสารสารคดี ฉบับ 461 สิงหาคม 2566
ศาสนาผีอีสานใต้
ราคาเล่มละ 195 บาท